๑. คำอธิบายรายวิชา
ความหมาย กระบวนการของการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนมนศตวรรษที่๒๑ สภาพปัจจุบันและปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ในประเทศไทย การวิเคราะห์ ผู้เรียนและวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี การกำหนดจุดประสงค์ของการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม การพัฒนาและเลือกใช้สื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงและเทคนิควิทยาการการเรียนรู้ การจัดทำแผนการเรียนรู้ระดับต่างๆ
๒. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการเรียนรู้ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและสภาพการออกแบบการจัดการเรียนรู้ใน ปัจจุบัน
๒. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการต่างๆ รูปแบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้เกิดการเรียนรู้ได้ดี ๓. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียนและวิชาชีพครู โดยการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๔.เพื่อให้ผู้เรียนบูรณาการเนื้อหาในสาระการเรียนรู้ และการเลือกสื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และเทคนิควิทยาการจัดการเรียนรู้ การจัดแผนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. เนื้อหาวิชากับเวลาเรียนที่กำหนดให้เรียน
บทที่ ๑ แนวคิดการออกแบบ และการจัดการเรียนรู้
๑.๑ ความต้องการจำเป็น สำหรับการออกแบบ และการจัดการเรียนรู้
๑.๒ นิยามการออกแบบ และการจัดการเรียนรู้
๑.๓ ประโยชน์ของการออกแบบ และการจัดการเรียนรู้
๑.๔ แบบจำลองการออกแบบ และการจัดการเรียนรู้โดยทั่วไป
๑.๕ บทบาทของผู้ออกแบบ และการจัดการเรียนรู้
๑.๖ งานและผลผลิตสมรรถภาพ ของการออกแบบ และการจัดการเรียนรู้
บท ที่ ๒ วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒.๑ วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒.๒ รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒.๓ เทคนิควิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการส อน
๒.๔ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒.๕ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
บท ที่ ๓ รูปแบบการเรียนการส อน
๓.๑ รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
๓.๒ รูปแบบการเรียนการสอน และกระบวนการเรียนการสอน ปกติ
๓.๓ กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
บท ที่ ๔ กลยุทธ์การเรียนการส อน
๔.๑ สภาวการณ์เรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนการสอน
๔.๒ความต้องการ ทฤษฎีการเรียนการสอน
๔.๓ ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน
๔.๔ ทฤษฎีการเรียนการสอน
๔.๕ หลักการเรียน รู้
๔.๖ การวิจัยการเรียน รู้
๔.๗ ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียน
๔.๘ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
๔.๙ รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
บทที่ ๕ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
๕.๑ ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ ตามแนวปฏิรูปการศึกษา
๕.๒ แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
๕.๓ การปฏิรูปการเรียนรู้ ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
๕.๔ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ
๕.๕ บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
บทที่ ๖ การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
๖.๑ บทบาทของผู้ออก แบบ
๖.๒ ประเภทของสื่อ
๖.๓ การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
บทที่ ๗ การวางแผนการเขียนแผนการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้
๗.๑ ความหมายของการวางแผนการสอน
๗.๒ ความจำเป็นของการวางแผนการสอน
๗.๓ ข้อมูลที่ถูกต้องใช้ในการวางแผนการสอน
๗.๔ แนวทางการวางแผนการสอน
๗.๕ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
๗.๖ แผนการจัดการเรียน รู้
ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
การ ออกแบบการเรียนการสอนมีจุดเริ่มต้นจากความต้องการในการวิจัยและพัฒนาสื่อที่ ใช้สำหรับฝึกอบรมกกำลังคนที่ทำงานในด้านต่างๆในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อมามีความตื่นตัวในการพัฒนาบทเรียนแบบโปรแกรมทำให้งานด้านการออกแบบการ เรียนการสอนเป็นงานที่ได้รับความสนใจมากขึ้นผู้ที่ทำงานในด้านการออกแบบการ เรียนการสอนในช่วงปี ค.ศ.1970 ได้แก่ บุคคลที่เรียกตัวเองว่านักจิตวิทยาการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ หรือนักออกแบบการฝึกอบรม คำว่า “การออกแบบการเรียนการสอน” เพิ่งจะน ามาใช้เมื่อช่วงปี ค.ศ.1980 และเริ่มต้นในภาคเอกชนที่อยู่ในสายธุรกิจและอุตสาหกรรมกอนที่จะเข้ามาสู่ภาครัฐ เช่น ในงานด้านการสาธารณสุขการศึกษาและการทหารสำหรับประเทศไทย คำว่า “การออกแบบการเรียนการสอน” เป็นคำที่มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางในช่วงของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรก (พ.ศ. 2540-2550) และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันโดยคุรุสภา (2556) ได้กำหนดให้การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็น มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพของครูจะเห็นว่าการออกแบบการเรียนการสอน ได้มีความสำคัญมากขึ้นซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งการศึกษาของไทยและ
สากล ดังที่ ริชี เคลนและเทรซี (Richey,Klein,& Tracy,2011,p.1) กล่าวว่าการออกแบบการเรียนการสอนได้กลายเป็นวิชาชีพหนึ่งเช่นเดียวกับที่เป็นศาสตร์การศึกษา 2 สาขาหนึ่ง ในฐานะของวิชาชีพการออกแบบการเรียนการสอนผู้ที่ประกอบวิชาชีพนี้จะต้องมี ความชำนาญในการทำงานหรือมีสมรรถนะของวิชาชีพที่ระบุไว้ชัดเจนในฐานะเป็น ศาสตร์สาขาหนึ่งการออกแบบการเรียนการสอนอาศัยการวิจัยและทฤษฎีเป็นฐานในการ สร้างความรู้
การออกแบบและการจัดการเรียนรู้
หมายถึง การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการที่ดำเนินการก่อนการพัฒนาหรือ สร้างบางสิ่งบางอย่างหรือมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก่้แย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงไม่ใช่การแก้ไขปัญหาทั่วไป
เมื่อนำการออกแบบมาใช้กับการจัดการเรียนรู้จึงมีความหมายที่แตกต่างจากการวางแผนการเรียนการสอนทั่วไป โดยการออกแบบการจัดการเรียนรู้มีจุดมุ่งหมายที่เฉพาะเจาะจง มุ่งเน้นเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งของนักเรียน การออกแบบทั่วไปเป็นกระบวนการที่รวมถึงการวางแผน การพัฒนาและการประเมินผล ทั้งสามส่วนนี้ล้วนส่งผลต่อจุดประสงค์หรือเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน เช่นเดียวกับการออกแบบการเรียนรู้ที่มุ่งผลการเรียนของนักเรียน นักศึกษา ดังนั้นจึงต้องทำด้วยความระมัดระวังและใช้ความชำนาญการ สิ่งที่นักออกแบบการจัดการเรียนรู้ต้องคำนึงถึงคือด้านประสิทธิผลหรือผลการเรียนรู้ที่ต้องการประสิทธิภาพ
ดิคและแครี (Dick & Carey, 1985, p. 5) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนการสอนที่ต้องการ โดยตอบคำถามให้ได้ว่าจะสอนอะไรและสอนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย และจะทราบได้ อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว
ซีลส์ และกลาสโกว์ (Seels & Glasgow, 1990, p.4) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียน การสอน คือกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่นำเอาทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการสอนมาทำให้ การเรียนการสอนมีคุณภาพ
แชมบอช และมาเกลียโร (Shambaugh & Magliaro, 1997, p. 24) ให้ความหมายของ การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการเชิงระบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน เพื่อจัดหาสิ่งที่จะช่วยให้นักออกแบบการเรียนการสอนสร้างสิ่งที่เป็นไปได้เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้เรียน
สมิทและราแกน (Smith & Ragan, 1999, p. 2) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการที่เป็นระบบในการนำหลักการเรียนรู้และหลักการสอนไปวางแผนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ การเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
กานเย เวเกอร์ โกลาส และเคลเลอร์ (Gagné, Wager, Golas, & Keller, 2005, p. 1) ให้ความหมาย ของการออกแบบการเรียนการสอน เป็นการน าหลักการเรียนรู้ไปออกแบบเหตุการณ์ ที่ประกอบด้วย กิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นอย่างมีเป้าประสงค์ชัดเจน หรือที่เรียกว่า การเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่คาดหวัง
โรว์แลนด์(Rowland, 1993 cited in Smith &Ragan, 1999 ) ได้สรุปลักษณะที่สำคัญของการ
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ไว้ ดังนี้
1) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่มีเป้าหมายเป็นสิ่งนำทางเพื่อสร้างสิ่งใหม่
2) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นสิ่งใหม่ที่เป็นผลงานการออกแบบต้องนำไปใช้ได้และมีประโยชน์
3) งานพ้ืนฐานในการออกแบบการจัดการเรียนรู้คือการแปลงสารสนเทศจากความต้องการไปสู่
สารสนเทศในการออกแบบผลงาน
4) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
5) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการแกไ้ขปัญหา แต่การแก้ไขปัญหาทั้งหลายไม่จำเป็น
ต้องผ่านการออกแบบ
6) ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้นั้น กระบวนการแก้ปัญหาเป็นไดทั้งกระบวนการที่มีขั้นตอนเป็น
ลำดับขั้น หรือเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
7) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นศาสตร์หรือผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์
8) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ต้องอาศัยทักษะทางเทคนิคความคิดสร้างสรรค์ความเป็นเหตุผลและ
ใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
9) กระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการพัฒนา
หมายถึง การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการที่ดำเนินการก่อนการพัฒนาหรือ สร้างบางสิ่งบางอย่างหรือมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก่้แย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงไม่ใช่การแก้ไขปัญหาทั่วไป
เมื่อนำการออกแบบมาใช้กับการจัดการเรียนรู้จึงมีความหมายที่แตกต่างจากการวางแผนการเรียนการสอนทั่วไป โดยการออกแบบการจัดการเรียนรู้มีจุดมุ่งหมายที่เฉพาะเจาะจง มุ่งเน้นเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งของนักเรียน การออกแบบทั่วไปเป็นกระบวนการที่รวมถึงการวางแผน การพัฒนาและการประเมินผล ทั้งสามส่วนนี้ล้วนส่งผลต่อจุดประสงค์หรือเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน เช่นเดียวกับการออกแบบการเรียนรู้ที่มุ่งผลการเรียนของนักเรียน นักศึกษา ดังนั้นจึงต้องทำด้วยความระมัดระวังและใช้ความชำนาญการ สิ่งที่นักออกแบบการจัดการเรียนรู้ต้องคำนึงถึงคือด้านประสิทธิผลหรือผลการเรียนรู้ที่ต้องการประสิทธิภาพ
ดิคและแครี (Dick & Carey, 1985, p. 5) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนการสอนที่ต้องการ โดยตอบคำถามให้ได้ว่าจะสอนอะไรและสอนอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย และจะทราบได้ อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว
ซีลส์ และกลาสโกว์ (Seels & Glasgow, 1990, p.4) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียน การสอน คือกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่นำเอาทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการสอนมาทำให้ การเรียนการสอนมีคุณภาพ
แชมบอช และมาเกลียโร (Shambaugh & Magliaro, 1997, p. 24) ให้ความหมายของ การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการเชิงระบบที่ใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน เพื่อจัดหาสิ่งที่จะช่วยให้นักออกแบบการเรียนการสอนสร้างสิ่งที่เป็นไปได้เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้เรียน
สมิทและราแกน (Smith & Ragan, 1999, p. 2) ให้ความหมาย การออกแบบการเรียนการสอน คือ กระบวนการที่เป็นระบบในการนำหลักการเรียนรู้และหลักการสอนไปวางแผนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ การเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
กานเย เวเกอร์ โกลาส และเคลเลอร์ (Gagné, Wager, Golas, & Keller, 2005, p. 1) ให้ความหมาย ของการออกแบบการเรียนการสอน เป็นการน าหลักการเรียนรู้ไปออกแบบเหตุการณ์ ที่ประกอบด้วย กิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นอย่างมีเป้าประสงค์ชัดเจน หรือที่เรียกว่า การเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่คาดหวัง
โรว์แลนด์(Rowland, 1993 cited in Smith &Ragan, 1999 ) ได้สรุปลักษณะที่สำคัญของการ
ออกแบบการจัดการเรียนรู้ไว้ ดังนี้
1) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่มีเป้าหมายเป็นสิ่งนำทางเพื่อสร้างสิ่งใหม่
2) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นสิ่งใหม่ที่เป็นผลงานการออกแบบต้องนำไปใช้ได้และมีประโยชน์
3) งานพ้ืนฐานในการออกแบบการจัดการเรียนรู้คือการแปลงสารสนเทศจากความต้องการไปสู่
สารสนเทศในการออกแบบผลงาน
4) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
5) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการแกไ้ขปัญหา แต่การแก้ไขปัญหาทั้งหลายไม่จำเป็น
ต้องผ่านการออกแบบ
6) ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้นั้น กระบวนการแก้ปัญหาเป็นไดทั้งกระบวนการที่มีขั้นตอนเป็น
ลำดับขั้น หรือเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
7) การออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นศาสตร์หรือผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์
8) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ต้องอาศัยทักษะทางเทคนิคความคิดสร้างสรรค์ความเป็นเหตุผลและ
ใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ
9) กระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการพัฒนา
อ้างอิง
หนังสือวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช)
พิมพ์ที่: โรงพิมพ์มหาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชหวังสนามจันทร์ นครปฐม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น