สัปดาห์ที่ 3

บทที่2
วิธีการสอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความ สำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนา ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแนวคิดการ จัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ ต่าง ๆ ที่ได้พัฒนามาอย่าง ต่อเนื่องยาวนาน และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตาม ต้องการอย่างได้ผล(วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2542)

1.วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (child Center)

1.1 วิธีการสอนแบบแก้ปญหา(Problem-solving Method)
วิธีการสอนนี่ จอห์น ดิวอี้ เป็นผู้คิดค้นขึ้นมาใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)ทุกประการ
  • กำหนดขอบเขตของปัญหา (Location of Problem)
  • ตั้งสมมติฐาน (Setting of Hypoythesis)
  • ทดลองและรวบรวมข้อมูล (Experimenting and Gathering of Data)
  • วิเคราะห์ข้อมูล (analysis of Data)
  • สรุป (Conclusion)

1.2 วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing)

กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  โดยการให้ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง  และแสดงออกมาตามความรู้สึกนึกคิดของตน  และนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง  ทั้งทางด้านความรู้  ความคิด  ความรู้สึกและพฤติกรรมที่สังเกตพบว่าเป็นข้อมูลใน  การอภิปราย  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์  เป็นการสอนแบบแสดงบทบาทตามสมมติเพื่อฝึกความกล้าและแสดงออกมากขึ้น



1.3วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนพบปัญหา และคิดหาวิธีแก้ปัญหาโดยขั้นทั้ง ของวิทยาศาสตร์   ขั้นตอนของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา และทำความเข้าใจถึงปัญหา
เป็นขั้นในการกระตุ้น หรือเร้าความสนใจให้นักเรียนเกิดปัญหา อยากรู้อยากเห็นและอยาก ทำกิจกรรมในสิ่งที่เรียน หน้าที่ของครูคือการแนะแนนำให้นักเรียนเห็นปัญหา จัดสิ่งแวดล้อมในการแก้ปัญหาโดยมีนวัตกรรมต่างๆ เป็นเครื่องช่วย
2. ขั้นแยกปัญหา และวางแผนแก้ปัญหา
ขั้นนี้ครูและนักเรียนช่วยกันแยกแยะปัญหา กำหนดขอบข่ายการแก้ปัญหาและจัดลำดับขั้นตอนก่อนหลังในการแก้ปัญหา ดังนี้
2.1 ครูและนักเรียนร่วมกันวางแผนและกำหนดวิธีการแก้ปัญหา
2.2 แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มรับผิดชอบและทำงานตามความสามารถและความสนใจ
2.3 แนะนำให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มรู้จักแหล่งความรู้เพื่อศึกษาค้นคว้าและนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหา
3. ขั้นลงมือแก้ปัญหาและเก็บข้อมูล
เป็นขั้นการเรียนรู้ของนักเรียนเองโดยการกระทำจริงๆ โดยส่งเสริมให้นักเรียนได้มีความรู้
ความสามารถที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ในขั้นนี้ครูมีหน้าที่ ดังนี้
3.1 แนะนำให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเข้าใจปัญหา รู้จักวิธีแก้ปัญหา และรู้จักแหล่ง ความรู้สำหรับแก้ปัญหา
3.2 แนะนำให้นักเรียนทำงานอย่างมีหลักการ
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลหรือรวบรวมความรู้เข้าด้วยกันและแสดงผล
เป็นขั้นการรวบรวมความรู้ต่างๆ จากปัญหาที่แก้ไขแล้ว นักเรียนแต่ละกลุ่มจะต้องแสดง ผลงานของตน
5. ขั้นสรุปและประเมินผลหรือขั้นสรุปและการนำไปใช้ ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปและประเมินผลการปฏิบัติการแก้ปัญหาดังกล่าวว่ามี ผลดีผล เสียอย่างไร แล้วบันทึกเรียบเรียงไว้เป็นหลักฐาน

1.4 วิธีการสอนตามขั้นที่ 4 ของอริยสัจ (Buddist's Method)
มีดังต่อไปนี้
  •         ทุกข์ กำหนดปัญหา
  •         สมุทัย การตั้งสมมติฐาน
  •         นิโร ธการทดลองและเก็บข้อมูล
  •         มรรค การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุป
1.5วิธีการสอนแบบทดลอง (The Laboratory Method)


วิธีสอนโดยใช้การทดลอง คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดปัญหาและสมมติฐานในการทดลองและลงมือทดลอง ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปอภิปรายผลการทดลอง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับจากการทดลอง
   
1.6วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)

ความมุ่งหมาย
               1.เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากากรทดลอง ค้นคว้าด้วยตนเอง
               2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์การทดลองต่างๆให้สามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง เป็นแนวทางในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ต่อไป
               3. เพื่อฝึกปฏิบัติงานทดลองค้นคว้าหาข้อเท็จจริงอย่างมีระบบขั้นตอนและรอบคอบ
               4. เพื่อฝึกการสังเกต คิด วิเคราะห์ สรุปผล และรายงานตามความจริงที่ค้นพบ

 1.7วิธีการสอนแบบจุลภาค Micro-Teaching) 

เป็นวิธีสอนที่ยึดหลักการย่อส่วนทั้งขนาดของชั้นเรียน ระยะเวลาที่สอนและชนิดของทักษะ วิธีสอนแบบจุลภาคใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที  ในการฝึกทักษะแต่ละชนิด เมื่อสอนเสร็จมีการวิเคราะห์และประเมินผลการสอนจากภาพและเสียงบันทึกไว้ใน Video Tape และนำผลไปปรับปรุงพัฒนาการสอน  การสอนแบบจุลภาคจึงเป็นการฝึกทักษะการสอนในสถานการณ์ย่อส่วนจากสถานการณ์จริงๆ เพื่อง่ายแก่การฝึกภายใต้การควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ  ผู้ฝึกได้มีโอกาสตรวจสอบและปรังปรุงการสอนของตน    ลักษณะการสอนแบบจุลภาคที่สำคัญ มีดังนี้
1.      เป็นสถานการณ์จริงในสถานการณ์จำลอง
2.      เป็นการลดความซับซ้อนของการสอนตามชั้นเรียนปกติ ได้แก่ ลดขนาดของห้องเรียน ลด
ขอบเขตของเนื้อหาวิชา และลดเวลา
3.      เป็นการฝึกทักษะเฉพาะอย่าง เช่น ทักษะการอภิปราย การแก้ปัญหา และการสาธิต ฯลฯ
4.      ได้ทราบผลการประเมินประสิทธิภาพการสอนและนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนา
ขั้นตอนการสอนแบบจุลภาค
ขั้นที่ เตรียมครูผู้สอน ได้แก่ การศึกษาทักษะการสอน
ขั้นที่ ทดลองสอนและบันทึกเทปวีดีทัศน์
ขั้นที่ เรียนรู้ผลการประเมินการสอน                                                                                                                                
  1.8วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method)
การสอนแบบโครงการหรือแบบโครงงาน Project Approach  วงการศึกษาของไทยใช้ชื่อ การสอนแบบโครงการ”  ในระดับปฐมวัยศึกษาหรือระดับอนุบาลศึกษา  และ  ใช้ชื่อ การสอนแบบโครงงาน  ในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา การสอนดังกล่าวเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง นับเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการปฏิบัติที่เหมาะสมและการเรียนรู้ที่มีความหมายเต็มไปด้วยความกระตือรือร้นของเด็กปฐมวัย การนำแนวคิดการสอนแบบโครงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ในระดับปฐมวัยศึกษา หรือการสอนแบบโครงการจะปรากฏกิจกรรม  5  ลักษณะในแต่ละระยะของการทำโครงการ  ซึ่งเสมือนขั้นตอนการสอนแบบโครงการกิจกรรมทั้ง  ลักษณะประกอบด้วย
1.     การอภิปราย  ในงานโครงการครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละ
คนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน  การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อย  หรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2.    การศึกษานอกสถานที่ หรืองานในภาคสนาม  เป็นกระบวนการที่สำคัญของการทำ
โครงการประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปศึกษานอกห้องเรียน  เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียนเช่น  ร้านค้า  ถนนหนทาง  ป้ายสัญญาณ  งานบริการต่าง ๆ ฯลฯ จะช่วยให้เด็กเข้าใจโลกที่แวดล้อม  มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ  ซึ่งถือเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า
3.    การนำเสนอประสบการณ์เดิม  เด็กสามารถทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่
น่า สนใจ มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้ รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น  ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ การเขียน การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  การเล่นบทบาทสมมติ  และการก่อสร้างแบบต่าง ๆ
4.    การสืบค้น  งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่างหลากหลายตามหัว
เรื่องที่สนใจเด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่  ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว เพื่อนนอกโรงเรียน  สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่  สัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง อาจสำรวจ วิเคราะห์วัตถุสิ่งของตนเอง  เขียนโครงร่าง หรือใช้แว่นขยายส่องดูวัตถุต่าง ๆ หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุดทำการค้นคว้า
 5.   การจัดแสดง  การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ อาจใช้ฝาผนังหรือป้ายจัดแสดงงานของ 

เด็ก เป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ที่ได้จากการสืบค้นแก่เพื่อนในชั้น  ครูสามารถให้เด็กในชั้นได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปราย หรือการจัดแสดงทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย
  
1.9วิธีการสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)

วิธี สอนแบบหน่วยเป็นวิธีการสอนที่นำเนื้อหาวิชาหลายวิชามาสัมพันธ์กัน โดยไม่กำหนดขอบเขตของวิชา แต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียนที่เรียกว่า หน่วย” นักเรียนอาจเรียนหลายๆวิชาพร้อมๆกันไปตามความต้องการและความสามารถของนักเรียน
ขั้นตอนของวิธีการสอนแบบหน่วย
1.ขั้นนำเข้าสู่หน่วย ขั้นตอนนี้ครูเป็นผู้เร้าความสนใจของนักเรียนด้วยการนำหนังสือที่น่าสนใจ
หรือสนทนาพูดคุยหรือเล่าเรื่องหรืออภิปรายหรือพาไปทัศนศึกษา หรือชมนิทรรศการ หรือชมภาพยนตร์ หรือชมวีดีทัศน์ ฯลฯ
2.ขั้นนักเรียนและครูวางแผนร่วมกัน ในการปฏิบัติกิจกรรม เริ่มด้วยการกำหนดความมุ่งหมายทั่วไป ความมุ่งหมายเฉพาะ ช่วยกันตั้งปัญหาและแบ่งหัวข้อปัญหา กำหนดกิจกรรมของแต่ละปัญหากำหนดสื่อการสอนที่จะนำไปใช้แก้ปัญหา แล้วจัดแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยเพื่อทำกิจกรรม และรายงานผลการปฏิบัติงาน
3.ขั้นลงมือทำงาน เริ่มต้นด้วยการสำรวจและรวบรวมความรู้ต่างๆจากห้องสมุดพิพิธภัณฑ์
ได้แก่ หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร เอกสาร แบบเรียน ตำรา ร้านค้า ภาพยนตร์ ความสัมพันธ์กับวิชาต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลป ฯลฯ
1. ขั้นเสนอกิจกรรม ได้แก่ การเสนอกิจกรรมด้วยการรายงานผลการปฏิบัติงานโดยวาจาหรือ
รายงานผลเป็นข้อเขียน การอภิปราย การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการเสนอกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์แบบอื่นๆ
2. ขั้นประเมินผล เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอน และจุดประสงค์ของหน่วย
โดยพิจารณาความรู้เชิงวิชาการ เจตคติ และความสนใจต่างๆ รวมทั้งคุณสมบัติส่วนตัว เช่น คุณสมบัติด้านการเป็นผู้นำ ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย การแสดงความคิดเห็นต่อกลุ่ม และยอมรับฟังความคิดเห็นของกลุ่ม
ข้อดีของวิธีสอนแบบหน่วย
1. เป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมความถนัดตามธรรมชาติของนักเรียน เพราะการสอนแบบนี้มี
กิจกรรมหลายประเภทให้นักเรียนได้เลือกปฏิบัติทำตามที่ถนัดและสนใจ
2. นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนร่วมกับครู
3. นักเรียนได้รับการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย และได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
4. เป็นการสอนที่สร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างวิชาต่างๆในหลักสูตร


 1.10วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
เป็นระบบการสอนแบบกลุ่มกิจกรรมที่จัดขึ้นในห้องตามปกติโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 4-6 กลุ่ม กลุ่มประมาณ 5-12 คน (จำนวนที่เหมาะสมที่สุด คือ 5-8 คน) ให้เข้าเรียนในศูนย์กิจกรรมการเรียนต่างๆ ซึ่งมีเนื้อหาต่างกันไป การเรียนในศูนย์ต่างๆ ใช้เวลาประมาณศูนย์การเรียนละ 15-20 นาที เมื่อเสร็จจากศูนย์การเรียนที่หนึ่งก็เลื่อนไปเรียนศูนย์การเรียนถัดไป หมุนจนครบทุกศูนย์
ลักษณะของศูนย์การเรียน
1. ผู้สอนต้องจัดห้องเรียนให้มีบรรยากาศน่าเรียน และสะดวกในการประกอบกิจกรรมต่างๆ เช่น จัดโต๊ะเรียนเป็นกลุ่ม 4-6 ตัว
2. ผู้สอนต้องวางแผนและเตรียมชุดการสอนรวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆ ให้พร้อม คอยดูแลให้ความ
ช่วยเหลือและบันทึกพัฒนาการของผู้เรียนในขณะที่ประกอบกิจกรรม
3. ผู้สอนต้องเป็นผู้นำเข้าสู่บทเรียน และสรุปบทเรียน รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการแสดงความคิดเห็นและความ สามารถ
4. ต้องมีการพัฒนาทักษะในการทำงานของนักเรียน ได้แก่ ทักษะการควบคุมตนเอง การทำงานเป็นทีม การทำตามกติกาของกลุ่ม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การประเมินผลตนเอง และการบันทึกความก้าวหน้าในการเรียนด้วยตนเอง

1.11วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed  Instruction)

คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ กำหนด โดยให้ผู้เรียนศึกษาจากบทเรียนสำเร็จรูปด้วยตนเอง (เนื้อหาถูกแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย เพื่อให้ง่ายแก่การเรียนรู้ และผู้เรียนสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เรียน ตรวจสอบการเรียนรู้ของตนเองได้ (Immediate Feedback) ว่าผิดหรือถูก ผู้เรียนสามารถใช้เวลาในการเรียนรู้มากน้อยตามความสามารถ และสามารถตรวจสอบผลการเรียนรู้ของได้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนการสอน
ผู้สอนศึกษาปัญหา ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
ผู้สอนเลือก แสวงหา หรือสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมในเรื่องที่ตรงกับปัญหาความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียน
ผู้สอนแนะนำการใช้บทเรียนแบบโปรแกรมให้ผู้เรียนเข้าใจ
ผู้สอนให้ผู้เรียนศึกษาบทเรียนด้วยตนเอง
ผู้เรียนทดสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือมารับการทดสอบจากผู้สอน

1.12บทเรียนโมดูล (Module)
ทเรียนโมดูลหรือหน่วยการเรียน จัดเป็นกลุ่มประสบการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมาย โมดูลอาจจะอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น สไลด์ ภาพ การทดลอง หนังสือหรือเอกสาร ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละสาขาวิชา
            บทเรียนโมดูล เป็นสื่อการเรียนชนิดหนึ่งที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้ตามความต้องการ
โดยที่บทเรียนนั้นจะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์เอาไว้อย่างแน่นอน มีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเลือกตามความถนัดและความสามารถของแต่ละคน มีการประเมินผลก่อนและหลังเรียน มีการทดสอบย่อยในทุก ๆหน่วยของโมดูล และการเรียนซ่อมเสริมด้วยกระบวนการเรียนการสอนจะเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญมากกว่าผู้สอน
       
องค์ประกอบของบทเรียนโมดูล                        
            1. หลักการและเหตุผล (Prospectus)
            2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
            3. การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-Assessment)
            4. กิจกรรมการเรียน (Enabling Activities)
            5. การประเมินผลหลังเรียน (Post-Assessment)
  1.13คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)                                                                                CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTION
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมาย ถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด
คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่
1.       สารสนเทศ (Information) 
หมาย ถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
2.       ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) 
การ ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตก ต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
3.       การโต้ตอบ (Interaction) 
คือ การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ สอนได้มากที่สุด
4.       การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) 
ผล ป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 
 1.14การสอนซ่อมเสริม
 การสอนซ่อมเสริมมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการเรียนการสอนทุกวิชาให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะนักเรียนมีความแตกต่างระหว่างบุคคลจึงต้องจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน การสอนซ่อมเสริมเป็นการจัดการเรียนการสอนลักษณะหนึ่ง ซึ่งตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน (ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ. 2550: 99) สอดคล้องกับศรียา นิยมธรรม (2546: 21) ที่กล่าวว่าการสอนซ่อมเสริมเป็นวิธีที่จะช่วยให้เด็กเหล่านี้เอาชนะอุปสรรคและปัญหาต่างๆ แม้ว่าปัญหาบางอย่างไม่มีคำตอบที่ตายตัวได้ผลดี รวดเร็ว และในความเป็น
จริงแล้ว ตัวครูเองก็มีเวลาจำกัดในการช่วยเหลือเด็ก จึงจำเป็นที่ครูต้องใช้หลักหรือวิธีการสอนที่ดีมาพิจารณาร่วมกับการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาแก้ไขตามลักษณะของปัญหาที่เกิดขึ้น นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงการสอนซ่อมเสริม หรือการสอนเพื่อบรรดิการ (Remedial Teaching)

1.15หมวกแห่งความคิด (The Six Thinking Hats)
Six Thinking Hats สูตรบริหารความคิดของ "เดอ โบโน" จะประกอบด้วยหมวก ใบ สี คือ
  • White Hat หมวกสีขาว สีขาวเป็นสีที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นกลาง จึงเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง จำนวนตัวเลข เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายความว่าที่ประชุมต้องการข้อเท็จจริงเท่านั้น คือ ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งนั้นๆ ไม่ต้องการความคิดเห็น
  • Red Hat หมวกสีแดง สีแดงเป็นสีที่แสดงถึงอารมณ์และความรู้สึก เมื่อสวมหมวกสีนี้ เราสามารถบอกความรู้สึกของตนเองว่าชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่การแสดงอารมณ์จะไม่มีเหตุผลประกอบ
  • Black Hat หมวกสีดำ สีดำ เป็นสีที่แสดงถึงความโศกเศร้า และการปฏิเสธ เมื่อสวมหมวกสีนี้ ต้องพูดถึงจุดด้อย อุปสรรคโดยมีเหตุผลประกอบ ข้อที่ควรคำนึงถึง เช่น เราควรทำสิ่งนี้หรือไม่ ไม่ควรทำสิ่งนี้หรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทำให้การคิดมีความรอบคอบมากขึ้น
  • Yellow Hat หมวกสีเหลือง สีเหลือง คือสีของแสงแดด และความสว่างสดใส เมื่อสวมหมวกสีนี้ หมายถึง การคิดถึงจุดเด่น โอกาส สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลในเชิงบวก เป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
  • Green Hat หมวกสีเขียว สีเขียว เป็นสีที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และการเจริญเติบโต เมื่อสวมหมวกสีนี้ จะแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การคิดอย่างสร้างสรรค์
  • Blue Hat หมวกสีน้ำเงิน สีน้ำเงินเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบ จะเป็นเหมือนท้องฟ้า หมวกนี้เกี่ยวกับการควบคุม การบริหารกระบวนการคิด หรือการจัดระเบียบการคิด




 1.16การสอนแบบ 4 MAT

   การสอนแบบ 4 MAT System เป็น การสอนในรูปแบบที่เริ่มมีคนใช้มากขึ้นเพราะความสะดวก ง่ายต่อความเข้าใจของครูมากกว่าทฤษฎีใดๆ ที่สำคัญคือ เป็นวิธีที่ผสมผสานกับกลยุทธ์อื่นได้เป็นอย่างดี เช่น อาจนำวิธีนี้กับการเรียนแบบสหร่วมใจ (Cooperative Learning) หรือ แบบอื่นได้ด้วย ความไม่ยุ่งยากซับซ้อนและประสิทธิภาพของวิธีการสอนเช่นนี้ ทำให้เริ่มมีการวิจัยเพิ่มขึ้น มีบทความ หนังสือต่างๆ มากมายกล่าวถึงการเรียนการสอนแบบนี้มากขึ้น จนในขณะนี้นักการศึกษาสำหรับเด็กปัญญาเลิศและนักการศึกษาทั่วไปรู้จักและ เข้าใจมากขึ้น



  1.17 แผนการสอนแบบ CIPPA      
  ซิปปา (CIPPA) เป็นหลักการซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ
ขั้นที่ การทบทวนความรู้เดิม
  ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้ของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่าง ๆได้อย่างหลากหลาย
  ขั้นที่ การแสวงหาความรู้ใหม่
ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่มีจากแหล่งข้อมูล หรือแหล่งความรู้ต่าง ๆ ซึ่งครูอาจเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่าง ๆเพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้
  ขั้นที่ การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่ หามาได้ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ ด้วยตนเอง  เช่น ใช้กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งอาจจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
  ขั้นที่ 4  การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับลุ่ม                                                                                      
 ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อม ๆ กัน
ขั้นที่ การสรุปและจัดระเบียบความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนให้มีระบบระเบียบ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
   ขั้นที่ การปฏิบัติ และ/หรือการแสดงผลงาน
หากข้อความรู้ได้เรียนรู้มาไม่มีการปฏิบัติ ขั้นนี้เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตน ให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนและช่วยส่งเสริม ให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่หากต้อง
มีการปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย
ขั้นที่ การประยุกต์ใช้ความรู้
 ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA  MODEL)

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                                                                                                      ชั้นประถมศึกษาปีที่   6
หน่วยการเรียนรู้  เรื่อง  สมการและการแก้สมการ                                                                           เวลา   15  ชั่วโมง
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่  1  เรื่อง  สมการและสมการที่เป็นจริง                                            เวลา   1   ชั่วโมง
สอนวันที่..............    เดือน..................................................      พ.ศ.  ..................

1.18วิธีการสอน แบบ Storyline


วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว 






ครูสมัยใหม่
ครูสมัยเก่า
1. สอนนักเรียนโดยวิธีบูรณาการเนื้อหาวิชา
1. สอนแยกเนื้อหาวิชา
2. แสดงบทบาทในฐานะผู้แนะนำ(Guide)ประสบการณ์ทางการศึกษา
2. มีบทบาทในฐานะตัวแทนของเนื้อหาวิชา(Knowledge)
3. กระตือรือร้นในบทบาท ความรู้สึกของ นักเรียน
3. ละเลยเฉยเมยต่อบทบาทของนักเรียน
4. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนของหลักสูตร
4. นักเรียนไม่มีส่วนร่วมแม้แต่จะพูดเกี่ยว กับหลักสูตร
5. ใช้เทคนิคการค้นพบด้วนตนเองของ นักเรียนเป็นกิจกรรมหลัก
5. ใช้เทคนิคการเรียน โดยการท่องจำเป็น หลัก
6. มีการเสริมแรงหรือให้รางวัลมากกว่าการลงโทษมีการใช้แรงจูงใจภายใน
6. มุ่งเน้นการให้รางวัลภายนอก เช่น เกรดแรงจูงใจภายนอก
7. ไม่เคร่งครัดกับมาตรฐานทางวิชาการจนเกินไป
7. เคร่งครัดกับมาตรฐานทางวิชาการมาก
8. มีการทดสอบเล็กน้อย
8. มีการทดสอบสม่ำเสมอเป็นระยะ ๆ
9. มุ่งเน้นการทำงานเป็นกลุ่มแบบร่วมใจ
9. มุ่งเน้นการแข่งขัน
10. สอนโดยไม่ยึดติดกับห้องเรียน
10. สอนในขอบเขตของห้องเรียน
11. มุ่งสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ให้นักเรียน
11. เน้นย้ำประสบการณ์ใหม่เพียงเล็กน้อย
12. มุ่งเน้นความรู้ทางวิชาการและทักษะด้าน จิตพิสัยเท่าเทียมกัน
12. มุ่งเน้นความรู้ทางวิชาการเป็นสำคัญ ละเลย

    2.รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 เทคนิค/วิธีการสอน
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
บทบาทผู้เรียน
1.กระบว­นการสืบค้น
การศึกษาค้นคว้า
·  การเรียนรู้กับกระบวนการ
·  การตัดสินใจ
    ความคิดสร้างสรรค์
ศึกษาค้นคว้าเพื่อสืบค้นข้อความรู้ด้วยตนเอง
2.การเรียนรู้แบบค้นพบ
·  การสังเกต การสืบค้น
·  การใช้เหตุผล การอ้างอิง
·  การสร้างสมมุติฐาน
 ศึกษาค้นพบข้อความรู้และขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา
·  การศึกษาแบบค้นคว้า
·  การวิเคราะห์ สังเคราะห์
·  ประเมินค่าข้อมูล
·  การลงข้อสรุป
·  การแก้ปัญหา
 ศึกษาแก้ปัญหาอย่างเป็น
กระบวนการและฝึกทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยตนเอง
4.การเรียนรู้แบบสร้างแผนผัง
·  การคิด
·  การจัดระบบความคิด
 จัดระบบความคิดของตนให้ชัดเจนเห็นความสัมพันธ์
5.การตั้งคำถาม
·  กระบวนการคิด
·  การตีความ
·  การไตร่ตรอง
·  การถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ
 เรียนรู้จากการคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและคำตอบด้วยตนเอง
6.การศึกษาเป็นรายบุคคล
·  การศึกษาค้นข้อความรู้
·  การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
·  ความรับผิดชอบ
·  การตอบคำถาม
 เรียนรู้อย่างอิสระด้วยตนเอง
7.การจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี
·  การแก้ปัญหา
·  การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
·  การเรียนรู้ที่ต้องการผลการเรียนทันที
·  การเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอน
·  บทเรียนสำเร็จรูป
·  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
·  e-learning
  เรียนรู้ด้วยตนเองตามระดับความรู้ความสามารถของตนมีการแก้ไขฝึกซ้ำเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญ
8.อภิปรายกลุ่มใหญ่
·  การแสดงความคิดเห็น
·  การวิเคราะห์
·  การตีความ
·  การสื่อความหมาย
·  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
·  การสรุปความ
    มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นมีบทบาทมีส่วนร่วม ในการสร้างข้อความรู้
9.อภิปรายกลุ่มย่อย
·  กระบวนการการกลุ่ม
·  การวางแผน
·  กาแก้ปัญหา
·  การตัดสินใจ
·  ความคิดระดับสูง
·  ความคิดสร้างสรรค์
·  การแก้ไขข้อขัดแย้ง
·  การสื่อสาร
·  การประเมินผลงาน
·  การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
    รับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกกลุ่มทั้งในบทบาทการทำงานและบทบาทเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม ในการสร้างข้อคามรู้สึกหรือผลงานกลุ่ม
9.1 เทคนิคคู่คิด
·  การค้นคว้าหาคำตอบ
·  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
 รับผิดชอบการร่วมกับเพื่อน
9.2 เทคนิคการระดมพลังสมอง
·  การมีส่วนร่วม
·  การแสดงความคิดเห็น
·  ความคิดสร้างสรรค์
·  การแก้ปัญหา
  แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายในเวลาอันรวดเร็ว
9.3 เทคนิค buzzing
·  การค้นคว้าหาคำตอบด้วยเวลาจำกัด
 แสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
9.4 การอภิปรายแบบกลุ่มต่างๆ
·  การสื่อสาร
·  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
·  การสรุปข้อความ
รับฟังขอมูลความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด
9.5 กลุ่มติว
·  การฝึกซ้ำ
·  การสื่อสาร
 ทบทวนจากกลุ่มหรือเรียนเพิ่มเติม
10.การฝึกปฏิบัติการ
·  การค้นคว้าหาความรู้
·  การรวบรวมข้อมูล
·  การแก้ปัญหา
ศึกษาค้นคว้าข้อความรู้ในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการ
11.เกม
·  การคิดวิเคราะห์
·  การตัดสินใจ
·  การแก้ปัญหา
ได้เล่นเกมด้วยตนเองภายใต้กฎหรือกติกาที่กำหนดได้คิดวิเคราะห์พฤติกรรมและเกิดความสนุกสนานในการเรียน
12.กรณีศึกษา
·  การค้นคว้าหาความรู้
·  การอภิปราย
·  การวิเคราะห์
·  การแก้ปัญหา
 ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์อภิปรายเพื่อสร้างความเข้าใจเลือกแนวทางแก้ปัญหา
13.สถานการณ์จำลอง
·  การแสดงความคิดเห็น
·  ความรู้สึก
·  การวิเคราะห์
ได้ทดลองแสดงพฤติกรมต่างๆในสถานการณ์ที่จำลองใกล้เคียงสถานการณ์จริง
14.ละคร
·  ความรับผิดชอบในบทบาท
·  การทำงานร่วมกัน
·  การวิเคราะห์
ได้ทดลองแสดงบทบาทตามกำหนดเกิดประสบการณ์เข้าใจความรู้สึกเหตุผลและพฤติกรรมผู้อื่น
15.บทบาทสมมุติ
·  มนุษย์สัมพันธ์
·  การแก้ปัญหา
·  การวิเคราะห์
    ได้ลองสวมบทบาทต่างๆและศึกษาวิเคราะห์ความรู้สึกและพฤติกรรมตน
16.การเรียนแบบร่วมมือ
ประกอบด้วยเทคนิค
JIGSAW, JIGSAW II, TGT STAD, LT, NHT, Co-op Co-op
·  กระบวนการกลุ่ม
·  การสื่อสาร
·  ความรับผิดชอบร่มกัน
·  ทักษะทางสังคม
    ได้เรียนรู้บทบาทสมาชิกกลุ่มมีบทบาทหน้าที่ รู้จักการไว้วางใจให้เกียรติและรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิกกลุ่ม
17.การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
·  การนำเสนอความคิดเห็นประสบการณ์
·  การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์
·  กระบวนการกลุ่ม
    มีส่วนร่วมในการอภิปรายแสดงความคิดเห็นหรือปฏิบัติจนได้ข้อสรุป
18.การเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบ Shoreline Method
·  การค้นคว้าหาความรู้
·  การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
·  ทักษะทางสังคม
    มีส่วนร่วมในการเรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจและการคิดดำเนินการเรียนด้วยตนเองทั้งในห้องเรียนและสถานการณ์จริง

3.เทคนิควิธีสอนที่เน้นผุ้เรียนเป็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน



การเรียนรู้อย่างตื่นตัว (active learning)


Active Learning เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้นำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาหรือประกอบอาชีพในอนาคตหลักการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เป็นการนำเอาวิธีการสอน เทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใช้ออกแบบแผนการสอนและกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอน Active Learning จึงถือเป็นการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน อีกทั้งยังช่วยส่งเสริม student engagement, enhance relevance, and improve motivation ของผู้เรียนหลักสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning คือ การส่งเสริมหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ด้วยเทคนิคหรือกิจกรรมต่างๆ ผู้สอนมีบทบาทอำนวยความสะดวกและจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง จนเกิดเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Learning)
   
วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ  (Role Playing)
การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้และเข้าใจได้ด้วยตนเอง โดยเน้นกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ เป็นอีกวิธีสอนหนึ่งที่จะให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ให้ผู้เรียนได้แสดงออก ทั้งทางด้านความคิดและท่าทางการแสดง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้เกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลิน
จุดมุ่งหมายของการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ
                    ทิศนา  แขมมณี (2550 : 358) กล่าวว่าวิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเรา  เกิดความเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและผู้อื่นหรือเกิดความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ  เกี่ยวกับบทบาทสมมติที่ตนแสดง 
                    สุพิน  บุญชูวงศ์ (2544 : 67) อธิบายถึงความมุ่งหมายของการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ ดังนี้
                    1. เพื่อฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกัน
             2. เพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกซึ่งความรู้สึก
             3. เพื่อฝึกการแก้ปัญหา
                    สิริวรรณ ศรีพหล และ พันทิพา อุทัยสุข (2540  : 106) กล่าวถึงเป้าหมายการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติว่า การแสดงบทบาทสมมติเป็นการนำเอาตัวอย่างพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในสังคมมาให้ผู้เรียนได้ศึกษา  ซึ่งผลที่จะได้รับจากการศึกษาโดยวิธีการดังกล่าวจะทำให้
1. ผู้เรียนได้มีโอกาสสำรวจความรู้สึกของบุคคลอื่น ๆ  และเมื่อสำรวจแล้วก็จะสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้นในเชิงเจตคติ
 2. ผู้เรียนได้มีโอกาสในการศึกษาความสัมพันธ์และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่ม
 3. ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝนวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่ม  ในบุคคล  หรือระหว่างบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ผู้เรียนได้มีโอกาสพัฒนาค่านิยมในเรื่องความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น
 5. ผู้เรียนสามารถสำรวจเจตคติของตนเอง  รวมทั้งแก้ไขข้อบกพร่องโดยการเรียนรู้จากเจตคติของผู้อื่นที่มีต่อตนเอง
 อาภรณ์  ใจเที่ยง (2550 : 160) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการแสดงบทบาทสมมติไว้ว่า

   1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้อื่น
  2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม
  3. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้ความคิดในการแก้ปัญหา  และการตัดสินใจ
  4. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงออก  ได้เรียนด้วยความเพลิดเพลิน
  5. เพื่อให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น
 อินทิรา  บุณยาทร (2542 : 98-99) อธิบายถึงความมุ่งหมายของการสอน ดังนี้
    1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้อื่น
   2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้  ความคิด  ความสามารถในการแก้ปัญหาและ      การตัดสินใจ
   3. เพื่อให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด
   4. เพื่อฝึกให้ผู้เรียนมีความกล้าที่จะแสดงอ
 และ ระวีวรรณ วุฒิประสิทธิ์ (2530 : 74-75)  อธิบายถึงจุดมุ่งหมายในการใช้บทบาทสมมติ ไว้ดังนี้ 
    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเจตคติ  และความคิดต่าง ๆ  ได้กว้างขวางขึ้น
   2. เพื่อให้ผู้สอนทราบถึงเจตคติและความคิดของผู้เรียน
   3. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ  ของสังคมได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
   4. เพื่อเตรียมผู้เรียนในการปฏิบัติเทคนิคบางอย่างในสถานการณ์จริง
   5. เพื่อช่วยในการทดสอบสมมติฐานสำหรับการแก้ปัญหา
   6. เพื่อฝึกความเป็นผู้นำและทักษะอื่น ๆ  ทางสังคมให้แก่ผู้เรียน
                    สรุปได้ว่า การสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ มุ่งฝึกการทำงานร่วมกัน กล้าคิด กล้าแสดงออกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อมากยิ่งขึ้น ลดความตึงเครียด เพราะเป็นการสอนที่ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด

การสอนแบบกรณีศึกษา (Case base)
ด้านหลักได้แก่ กรณีศึกษาที่ใช้ กิจกรรมผู้เรียน และบรรยากาศในห้องเรียน (Dori and Herscovitz, 2005) โดยในแต่ละองค์ประกอบควรมีลักษณะที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้  

      กรณีศึกษา (Case Study) คือ “เรื่องราวที่มีข้อความบรรยาย” หรือ “เรื่องราวที่ใช้สำหรับศึกษา” (Herried,1997) สาขาแรกเริ่มที่ใช้กรณีศึกษามาช่วยในการเรียนการสอนคือกลุ่มสาขาธุรกิจและสาขาการแพทย์ ทั้งนี้เพราะลักษณะของกรณีศึกษาจะมีเนื้อหาที่เป็นปัญหาท้าทายให้ผู้เรียนได้คิดแก้ปัญหาก่อนที่จะได้ลงมือปฏิบัตินั่นเอง(Sykes and Bird, 1992) ซึ่งการนำกรณีศึกษาเข้ามาใช้จัดเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เรียกว่า Problem-based Learning(PBL) เป็นการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือเป็นวิธีการเรียนรู้ที่เป็นผลมาจากการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้ที่ผู้เรียนทำการสืบค้นเอง (Barrows and Tamblyn, 1980) ซึ่งการสอนโดยใช้กรณีศึกษานั้นจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ในบริบทของสิ่งต่างๆ หรือสภาพแวดล้อมที่ผู้เรียนรู้แล้ว ทำให้ง่ายต่อการเชื่อมโยงแนวคิดวิทยาศาสตร์ที่เป็นนามธรรมกับสิ่งต่างๆ ที่ผู้เรียนเคยรู้ เคยเห็น และเคยใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงเป็นที่ยอมรับว่ากรณีศึกษาทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ (Bransford et al., 1999) ด้วยเหตุผลดังนี้คือ
1. ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองบนพื้นฐานจากสิ่งที่รู้อยู่แล้วกับสิ่งที่ผู้เรียนสนใจนำมาสัมพันธ์กับกรณีศึกษา ทำให้พัฒนาการสร้างคำถามที่มีความหมายทางวิทยาศาสตร์ นำไปสู่การสืบค้นต่อไป
2. ในระหว่างที่ผู้เรียนวิเคราะห์กรณีศึกษานั้น ผู้เรียนจะต้องทำงานเป็นกลุ่มอย่างร่วมมือร่วมใจกันเพื่อหาข้อสรุปของกลุ่มว่าได้รู้อะไรบ้างจากกรณีศึกษา และอยากรู้อะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง
3. ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การเคารพความคิดซึ่งกันและกัน รวมทั้งมีกระบวนการปรับแนวความคิดที่
คลาดเคลื่อนของสมาชิกในระหว่างที่มีการอภิปรายในกลุ่มกรณีศึกษา สามารถใช้ได้ทั้งด้านการสอนและการประเมิน (Dori, 2003 และ Dori and Herscovitz, 1999)ซึ่งการใช้กรณีศึกษาช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง โดยกรณีศึกษาที่นำมาใช้ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์นั้นควรเป็นปัญหาทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันที่ผู้เรียนพบในชีวิตประจำวันหรือพบเห็นในข่าวที่ทำให้นักเรียนรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งใกล้ตัวผู้เรียน ซึ่งสามารถนำมาดัดแปลงเพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้เรียนได้ศึกษา วิเคราะห์ทำให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีเหตุผล (Herreid, 1994; 1997 และสุคนธ์ และคณะ, 2545)นักการศึกษาที่สนใจการใช้กรณีศึกษาสำหรับการสอนวิทยาศาสตร์ระบุว่าวิธีการนี้มีประสิทธิภาพที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้นทั้งด้านความเข้าใจเนื้อหาวิทยาศาสตร์ การตั้งคำถาม และการคิดวิพากษ์วิจารณ์ (Dori and Herscovitz, 1999; Dori and Tal, 2000; และ Hofstein et al., 1999) นอกจากนี้การใช้กรณีศึกษาในการสอนวิทยาศาสตร์ยังช่วยส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน และยังเหมาะแก่การใช้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับการวัดและประเมินผลผู้เรียนเกี่ยวกับทักษะการคิดได้อีกด้วย (Dori, 2003 และ Wassermann, 1994) ซึ่งกรณีศึกษาที่นำมาใช้มีลักษณะเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง เป็นตัวอย่างที่นำมาใช้สำหรับการศึกษาได้อย่างเหมาะสมโดยลักษณะของกรณีศึกษาแบ่งออกเป็นกรณีศึกษาปลายปิด (close-ended case study) คือกรณีศึกษามีแนวทางการแก้ปัญหาไว้เรียบร้อยแล้ว และกรณีศึกษาปลายเปิด(open-ended case study) เป็นกรณีศึกษาที่ยังไม่ระบุแนวทางการแก้ปัญหาและรอกาแก้ปัญหาจากผู้เรียน
 วิธีสอนโดยการใช้สถานการณ์จำลอง คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูลและกติกาการเล่น ที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้นๆโดยใช้ข้อมูลที่มีสภาพคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่นในลักษณะเดียวกันที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง

ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองให้มีประสิทธิภาพ

ข้อดี

         เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่มีความสัมพันธ์ซับซ้อนได้อย่างเข้าใจ
เกิดความเข้าใจ เนื่องจากได้มีประสบการณ์ที่เห็นประจักษ์ชัดด้วยตนเอง
         เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูงมาก ผู้เรียนได้เรียนอย่างสนุกสนาน
การเรียนรู้มีความหมายต่อตัวผู้เรียน
         เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะกระบวนการต่างๆจำนวนมาก เช่น กระบวน
การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กระบวนการสื่อสาร กระบวนการตัดสินใจ กระบวนการแก้ปัญหา และ
กระบวนการคิด เป็นต้น

ข้อจำกัด

         เป็นวิธีสอนที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องมีวัสดุ อุปกรณ์ และข้อมูลสำหรับผู้เล่น
ทุกคน และสถานการณ์จำลองบางเรื่องมีราคาแพง
         เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก เพราะต้องให้เวลาแก่ผู้เล่นในการเล่นและการอภิปราย
         เป็นวิธีการสอนที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมการมาก ผู้สอนต้องศึกษารายละเอียดและ
ลองเล่นด้วยตนเองและในกรณีที่ต้องสร้างสถานการณ์เอง ยิ่งต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น
         เป็นวิธีการสอนที่ต้องพึ่งสถานการณ์จำลอง ถ้าไม่มีสถานการณ์จำลองที่ตรงกับ
วัตถุประสงค์หรือความต้องการ ผู้สอนต้องสร้างขึ้นเอง ถ้าผู้สอนไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการสร้าง
สถานการณ์เพียงพอ ก็จะไม่สามารถสร้างได้
         เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เล่นและแสดงออกอย่างหลากหลาย จึงเป็น
การยากสำหรับผู้สอนในการนำการอภิปรายให้ไปสู่การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์

 วิธีการสอนโดยใช้การทดลอง (Experiment)
     วิธีสอนโดยใช้การทดลอง คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดปัญหาและสมมติฐานในการทดลองและลงมือทดลองปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปอภิปรายผลการทดลอง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับจากการทดลอง

วัตถุประสงค์  

     วิธีสอนโดยใช้การทดลอง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนรายบุคคลหรือรายกลุ่มเกิดการเรียนรู้โดยการเห็นผลประจักษ์ชัดจากการคิดและการกระทำของตนเอง ทำให้การเรียนรู้นั้นตรงกับความเป็นจริง มีความหมายสำหรับผู้เรียนและจำได้นาน

ข้อดี และข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้การทดลอง
ข้อดี
1. เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง ได้ผ่านกระบวนการต่างๆ ได้พิสูจน์ ทดสอบ และเห็นผลประจักษ์ด้วยตนเอง จึงเกิดการเรียนรู้ได้ดี มีความเข้าใจ และจะจดจำการเรียนรู้นั้นได้นาน
2. เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก เช่น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการแสวงหาความรู้ ทักษะกระบวนการคิด และทักษะกระบวนการกลุ่ม ทั้งได้พัฒนานิสัยใฝ่รู้          
3. เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมมาก จะทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้

ข้อจำกัด
1. เป็นวิธีสอนที่มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ เครื่องมือ วัสดุ สำหรับนักเรียนจำนวนมาก หรือในกรณีที่ต้องออกไปเก็บข้อมูลนอกสถานที่ ก็ต้องมีค่าพาหนะ ที่พัก และวัสดุต่างๆด้วย
2. วิธีสอนที่ใช้เวลามาก เนื่องจากการดำเนินการแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลา
3. เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จึงจะสามารถสอนและฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

วิธีการสอนโดยใช้การนิรนัย (Deduction)

วิธีสอนโดยใช้การนิรนัย คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยการช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปในเรื่องที่เรียน แล้วจึงให้ตัวอย่างหลายๆ ตัวอย่างเกี่ยวกับการใช้ทฤษฎี/หลักการ/กฎ หรือข้อสรุปนั้น หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกนำทฤษฎี/หลักการ/กฎ หรือข้อสรุปนั้นไปในสถานการณ์ใหม่ๆ ที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจทฤษฎี/หลักการ/กฎ หรือข้อสรุปนั้นๆอย่างลึกซึ้งขึ้น หรือกล่าวสั้นๆ ได้ว่าเป็นการสอนจากหลักการไปสู่ตัวอย่างย่อย

ข้อดี และข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้การทดลอง
ข้อดี
1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้อย่างรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก
2. เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีโอกาสมีโอกาสได้ฝึกฝนการนำทฤษฎี/หลักการไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ                       
3. เป็นวิธีสอนที่อำนวยให้ผู้เรียนที่มีความสามารถหรือเรียนรู้ได้เร็วสามารถพัฒนา โดยไม่ต้องรอผู้เรียนที่กว่า
ข้อจำกัด
1. เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนจำเป็นต้องเตรียมตัวอย่าง/สถานการณ์/ปัญหาที่หลากหลายมาให้ผู้เรียนได้ฝึกทำ  
2. วิธีสอนที่ขึ้นกับความเข้าใจและความสามารถของผู้สอนในการนำเสนอทฤษฎี หลักการ
3. เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า อาจจะตามไม่เพื่อน และเกิดปัญหาในการเรียนรู้

 วิธีสอนโดยใช้การอุปนัย
            วิธีสอนโดยใช้การอุปนัย  หมายถึง  เป็นการสอนรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์  หรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์  นั่นคือ  นักเรียนได้เรียนรู้ในรายละเอียดก่อนแล้วไปสรุป  ตัวอย่างของวิธีสอนนี้  ได้แก่  การให้โอกาสนักเรียนในการศึกษาค้นคว้าสังเกต  ทดลอง  เปรียบเทียบแล้วพิจารณาค้นหาองศ์ประกอบที่เหมือนกัน  หรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่างๆเพื่อนำมาเป็นข้อสรุป
 1. ขั้นเตรียมนักเรียน  เป็นการเตรียมความรู้และแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน
 2. ขั้นเสนอตัวอย่าง  ให้นักเรียนเปรียบเทียบและสรุปกฎเกณฑ์ตัวอย่างควรเสนอหลายตัวอย่าง
3. ขั้นหาองค์ประกอบรวม  เป็นการให้นักเรียนมีโอกาสพิจารณาความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบจาก    ตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์
4. ขั้นสรุปข้อสังเกตต่างๆ เป็นการสรุปข้อสังเกตต่างๆจากตัวอย่างเป็นกฎเกณฑ์  นิยาม  หลักการ  ด้วยตัว  นักเรียน
 5. ขั้นนำไปใช้  เป็นขั้นนำข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์ที่ได้จากการทดลองหรือสิ่งที่เข้าใจไปใช้ในสถานการณ์จริง
 วิธีสอนแบบอุปนัยมีข้อสังเกตอย่างไร
 1. ในการสอนแต่ละขั้น  ครูควรให้โอกาสนักเรียนคิดอย่างอิสระ
 2. ครูควรสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ไม่เป็นทางการเพื่อลดความเครียดและเบื่อหน่าย
3. วิธีสอนแบบอุปนัยจะให้ผลสัมฤทธิ์สูงถ้าครูสร้างความเข้าใจทุกขั้นตอนอย่างดีก่อนสอน

powerpoint สรุป

หนังสือวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา  ธงพานิช)
พิมที่: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปกร วิทยาเขตพระราชหวังสนามจันทร์ นครปฐม 
website : www.suprint.su.ac.th 
http://childcenter-edu.blogspot.com/2009/11/blog-post.html
http://www.neric-club.com/data.php?page=27&menu_id=76 
http://kannikamedia.blogspot.com/2013/12/project-approach.html
http://innovation.kpru.ac.th/web18/551121817/innovation/index.php/leaning
http://porboon.blogspot.com/2013/06/programmed-instruction.html
https://www.gotoknow.org/posts/388980
https://sites.google.com/site/ajyutt/khxmphiwtexr-chwy-sxn-cai
http://www.l3nr.org/posts/398755
http://ae.edu.swu.ac.th/project/ed322/principles%20of%20teaching/oldweb/P8.6.htm#ขั้นอภิปรายสรุปผล.วิธีการสอนการสอนแบบทดลอง. เข้าถึงเมื่อ  14  กรกฎาคม  2558
https://data.bopp-obec.info/emis/news/news_view_school.php?ID_New=1936&School_ID=1032650393
 https://www.gotoknow.org/posts/562174
ทิศนา แขมมณี (2552).  ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
 ทิศนา แขมมณี.(2552).14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถามท้ายบทบทที่ 7 เรื่อง การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนจัดการเรียนรู้

คำถามท้ายบทบทที่ 7 1. จากการศึกษาข้อมูลในบทที่ 7 ท่านคิดว่าการวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีความยากหรือง่ายเพียง...