การออกแบบคือ การ
ออกแบบเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ประสบการณ์ความรู้
และทักษะอย่างกว้างขวางเพื่อที่จะแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดภายในข้อ
จำกัดที่มีอยู่
การออกแบบเกี่ยวข้องการระบุปัญหาและทำให้ปัญหากระจ่างประกอบไปด้วยการตอบ
สนองที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์
และปรับปรงวิธีแก้ไขปัญหาแล้วเริ่มต้นออกแบบใหม่อีก
ทำไมต้องเปลี่ยนแปลงการออกแบบ เห
ตผลหนึ่งคือ การเปลี่ยนแปลงตามความต้องการทางสังคม เหตุผลที่สองคือ
การพัฒนาทางเทคโนโลยีใหม่ซึ่งสามารถประยุุกต์เข้ากับผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมได้
การออกแบบมีผลกระทบต่อชีวิตเราอย่างไร ผู้
ออกแบบต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
เนื่องจากวิชาการที่ออกแบบสามารถมีผลกระทบต่อประชาชนได้
อย่างไรก็ตามนักออกแบบต้องให้ความสนใจกับประชาชนเป็นอย่างมากและเป็นอันดับ
แรก
การออกแบบการเรียนการสอน เป็น
กระบวนการของการป้องกันด้วการวางแผนแก้ไขปัญหาก่อนการเรียนการสอน
โดยวิเคราะห์สถานการณ์หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
สมรรถภาพที่ต้องการผู้ออกแบบการเรียนการสอนคือ
พฤติกรรมที่มีการบรณาการและเกี่ยวข้องกับการกลั่นกรอง การวิเคราะห์
การจัดการ การสังเคราะห์ สารสนเทศ และเนื่องจากความหลากหลายในทักษะต่างๆ
จึงมีวิธีทั่วไปอยู่สองวิธีในการสอนรายวิชา "การออกแบบการเรียนการสอน" คือ
วิธีการตัดสินใจพื้นฐานที่ครูจะต้องสร้างขึ้นและนำไปใช้
การออกแบบการเรียนการสอนตามวิธีการเชิงความรู้ ผู้เรียนจะได้รับการคาดหวังว่า จะสามารถรู้หลักการการออกแบบการรียนการสอนได้
การออกแบบการเรียนการสอนตามวิธีการเชิงผลิตภัณฑ์ ผู้เรียนจะได้รับความคาดหวังว่า จะสามารถประยุกต์ใช้หลักการการออกแบบวัสดการเรียนการสอนได้
ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน
คิด
และคาเรย์ กล่าวว่า ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ
ความจำเป็นเร่งด่วนทันทีทันใด โดยยกตัวอย่างว่า
นักออกแบบการเรียนการสอนจำนวน 12 คน
ที่ทำงานเกี่ยวกับเตาปฏิกรณ์ปรมาณูในท้องถิ่นจะต้องมีปริญญาเทคโนโลยีการ
เรียนการสอนและต้องรับผิดชอบเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจในคุณภาพของการเรียน
การสอนทุกระดับ (Disk and Carey 1985 : 8)
งาน
ของผ้นักออกแบบการเรียนการสอน คือ
นำจุดประสงค์และการเรียงลำดับของจุดประสงค์ไปสู่กระบวนการเรียนการสอนเพื่อ
ที่จะให้เกิดความแน่ใจที่คุณภาพของการเรียนการสอน
วิธการในลักษณะนี้จะแล้วเสร็จได้ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการเชิงระบบ
และใช้การวิจัยและความรู้จากทฤษฎีการออกแบบการเรียนการสอน
และจากสาขาวิชาอื่นๆ
ดัง
นั้นอาจสรุปได้ว่า ความต้องการจำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน
คือการแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย
เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อ
การพัฒนาปัจเจกบุคคล
แะมนุษย์โดยทั่วไปและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่าง
ไร
นิยามของการออกแบบการเรียนการสอน
ริตา ริชชีย์ (Rita Richey, 1986
: 9) ได้นิยามการออกแบบการเรียนการสอนว่า หมายถึง
วิทยาศาสตร์การสร้างสรรค์รายละเอียดที่ชี้เฉพาะเพื่อการพัฒนา
การประเมินผลและการบำรงรักษาสถานการณ์
หรือเงื่อนไขที่อำนวยความสะดวกให้กับการเรียนรู้ในหน่วยของเนื้อหาวิชาทั้ง
หน่วยใหญ่และหน่วยย่อย
การนิยามของริชชีย์เป็นการให้ความกระจ่างกับความสัมพันธ์ของนักวิจัยซึ่งไม่
ได้เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอน
แต่ป็นผู้ให้ความช่วยเหลือบนพื้นฐานของความร้
ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้
นิยามว่า การออกแบบการเรียนการสอนเป็นการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดหมาย
จุดเริ่มต้นของการออกแบบการเรียนการสอนควรเป็นการพิจารณาองค์ประกอบเบื้อง
ต้นของระบบ และพิจารณาสภาพทั่วไปเกียวกับการเรียนการสอน ไชยยศ เรืองสุบรรณ
ยังได้เสนอกรอบแนวคิดของการออกแบบการเรียนการสอนด้วยว่า มีองค์ประกอบ 4
ประการ คือ ผู้เรียน จุดหมาย วิธีการสอน และการประเมิน
โดยตั้งคำถามที่คล้ายคลึงกับคำถามของไทเลอร์ คือ
1.จะออกแบบพัฒนาโปรแกรมนี้ไว้เพื่อใคร
เป็นการพิจารณาคณลักษณะผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม
2.ต้องการให้ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้อะไร
หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง เป็นการกำหนดจุดหมายของการเรียน
3.ผู้เรียนจะเรียนรู้วิชาหรือทักษะต่างๆได้ดีที่สุดอย่างไร
เป็นการกำหนดวิธีการสอนและกิจกรรมของการเรียนการสอน 4.จะรู้ได้อย่างไรว่า
ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ เป็นการกำหนดกระบวนการการประเมินผล
ชีลล์และกลาสไกว์ ได้
นิยามว่า การออกแบบการเรียนการสอนเป็นทั้งกระบวนการและสาขาวิชา
ในฐานะที่เป็นกระบวนการจะเป็นการพัฒนาระบบการเรียนการสอนเฉพาะที่ใช้การ
เรียนรู้และทฤษฎีการเรียนการสอนที่ให้ความแน่ใจในคุณภาพของการเรียนการสอน
ในฐานะที่เป็นสาขาวิชาจะเป็นสาขาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและทฤษฎี
ที่เฉพาะเจาะจงในเรื่องของการเรียนการสอนและกระบวนการในการพัฒนาความเฉพาะ
เจาะจงนั้นๆแการออกแบบการเรียนการสอนรวมถึง
การสร้างสรรค์ความเฉพาะเจาะจงสำหรับสถานการณ์การเรียนการสอนและเพื่อการ
พัฒนา การประเมิน การบำรุงรักษาไว้ การเผยแพร่สถานการณ์เหล่านั้น
คุณลักษณะสำคัญ 4 ประการ ของการออกแบบการเรียนการสอน คือ
1.เนื้อหาวิชาที่เลือกมาจากข้อมูลในสาขาวิชานั้นๆ
2.ยุทธวิธีการเรียนการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของการวิจัยและทฤษฎี
3.ข้อมูลการทดสอบที่อยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการปฏิบัติ 4.
เทคโนโลยีที่ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ปรสิทธิผลและราคา
กาเย่ บริกส์ และวาเกอร์ ได้
นิยามว่า
ระบบการเรียนการสอนเป็นการจัดทรัพยากรและวิธีการที่ใช้ในการส่งเสริมการ
เรียนรู้
ระบบการเรียนการสอนมีรูปแบบเฉพาะที่หลากหลายและเกิดขึ้นในหลายสถาบัน
การออกแบบการเรียนการสอน อาจเรียกได้หลายชื่อ เช่น การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional Systems Designs : ISD) การพัฒนาระบบการเรียนการสอน (Instructional Systems Designs : ISD) การออกแบบการเรียนรู้ (Learning Systems Designs : LSD) การเรียนการสอนแบบสมรรถภาพ (Competency-Based Instruction)
อาจ
สรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน หมายถึง
กระบวนการปัญหาการเรียนการสอนโดยวิเคราะห์สถานการณ์หรือเงื่อนไขการเรียนรู้
อย่างเป็นระบบ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนอย่งเป็นระบบ
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายโดยอาศัยความรู้จากหลายๆทฤษฎี
การ ลงทุนที่ประสบความสำเร็จ หมายถึง การที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้รับประโยชน์หรือได้รับกำไร นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนย่อมได้ประโยชน์จากการเรียนการสอน ไม่มากก็น้อย ดังที่ ไชยยศ เรืองสุบรรณ ได้กล่าวไว้ว่า1.ผู้ บริหารหรือผู้จัดการโปรแกรมการศึกาาและการเรียนการสอนย่อมต้องการความ มั่นใจในประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้งบประมาณประหยัดที่สุด
2.นัก ออกแบบการสอนย่อมต้องการความมั่นใจว่า โปรแกรมที่ออกแบบไว้เป็นโปรแกรมที่น่าพอใจ ซึ่งตัวบ่งชี้ที่สำคัญในความพอใจก็คือ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาที่เหมาะสม
3.ครูผู้สอนย่อมต้องการที่จะเห็นผู้เรียนได้รับความรู้ ความสมารถอื่นๆที่จำเป็น รวมทั้งต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน
4.ผู้เรียนต้องการความสำเร็จในการเรียน ได้รับประสบการณ์การเรียนด้วยความสนุกสนานและพอใจ ออร์แลนสกี และสตริง การออกแบบระบบการเรียนการสอน ว่า สามารถลดเวลาการเรียนการสอน
รายวิชาเห่านั้นลงได้และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี สมิธ ราแกน คิดและคาเรย์ ระบบการเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
1) ระบบการเรียนการสอนเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่จัดวางองค์ประกอบของการเรียน การสอน ต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบ ทำให้ครูรู้จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลผู้เรียน ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ครูในการเตรียมการสอนทำให้เกิดความพร้อมในการ ดำเนินงาน 2) ส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ คือสามารถควบคุมการดำเนินงานให้ บรรลุจุดมุ่งหมายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ และประหยัดทรัพยากร รวมทั้งเวลา ดีกว่าการ
จัดการเรียนการสอนที่ขาดระบบ เพราะจะทำให้เกิดความสับสน เพราะไม่ทราบจุดมุ่งหมายชัดเจนและ ไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานได้ 3) ช่วยให้ครูทราบปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะ สม เพราะ มีระบบควบคุมกระบวนการดำเนินการทำให้ทราบว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียน เกิดจากปัญหาการ ดำเนินงานในส่วนใด เพื่อหาทางแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 4) ช่วยให้ครูได้นำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง การเรียนการสอนให้มีคุณภาพดีขึ้น 5) การนำวิธีการเชิงระบบไปใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ทาง การศึกษาต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้อย่าง กว้างขวาง นัก ออกแบบการเรียนการสอนเห็นว่า การออกแบบการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อบุคลากรทางการศึกษาทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ต่อผู้เรียน เพราะการออกแบบการเรียนการสอนจะเน้นที่ความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังเห็นได้จากมีการประเมินความต้องการจำเป็นของผู้เรียนในกลวิธีการสอนเน้น ที่การเรียนการสอนรายบคคลเป็นส่วนใหญ่ และการประเมินผลที่เน้นการประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และใช้ประเมินในลักษณะของการประเมินแบบอิงเกณฑ์
แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป
ตารางการเปรียบเทียบการสอนแบบดั้งเดิมกับการเรียนการสอนเชิงระบบ
ตาราง งานและผลผลิตของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน
1) ระบบการเรียนการสอนเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่จัดวางองค์ประกอบของการเรียน การสอน ต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบ ทำให้ครูรู้จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลผู้เรียน ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ครูในการเตรียมการสอนทำให้เกิดความพร้อมในการ ดำเนินงาน 2) ส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ คือสามารถควบคุมการดำเนินงานให้ บรรลุจุดมุ่งหมายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ และประหยัดทรัพยากร รวมทั้งเวลา ดีกว่าการ
จัดการเรียนการสอนที่ขาดระบบ เพราะจะทำให้เกิดความสับสน เพราะไม่ทราบจุดมุ่งหมายชัดเจนและ ไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานได้ 3) ช่วยให้ครูทราบปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะ สม เพราะ มีระบบควบคุมกระบวนการดำเนินการทำให้ทราบว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียน เกิดจากปัญหาการ ดำเนินงานในส่วนใด เพื่อหาทางแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 4) ช่วยให้ครูได้นำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง การเรียนการสอนให้มีคุณภาพดีขึ้น 5) การนำวิธีการเชิงระบบไปใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ทาง การศึกษาต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้อย่าง กว้างขวาง นัก ออกแบบการเรียนการสอนเห็นว่า การออกแบบการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อบุคลากรทางการศึกษาทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ต่อผู้เรียน เพราะการออกแบบการเรียนการสอนจะเน้นที่ความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังเห็นได้จากมีการประเมินความต้องการจำเป็นของผู้เรียนในกลวิธีการสอนเน้น ที่การเรียนการสอนรายบคคลเป็นส่วนใหญ่ และการประเมินผลที่เน้นการประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน และใช้ประเมินในลักษณะของการประเมินแบบอิงเกณฑ์
แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป
จาก
หลักการเพื่อออกแบบการเรียนการสอนที่กล่าวมาแล้ว
สิ่งที่จะแสดงได้ชัดเจนเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรม คือ
รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design Model) ที่
จะเป็นเครื่องมือสำคัญและเป็นแนวทางให้ผู้สอนทุกคนสามารถดำเนินการสอนให้ได้
มาตรฐานของการเรียนการสอนที่ใกล้เคียงกันแม้ว่าผู้สอนจะมีประสบการณ์ต่างกัน
รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ
ในการออกแบบระบบการเรียนการสอน
ซึ่งมักจะเขียนในรูปแบบของผังแสดงลำดับการทำงาน (Flowchart) เพื่อแสดงรูปแบบให้เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว โดยหลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอนที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ แบบจำลอง ADDIE ที่มีองค์ประกอบ ๕ ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นการวิเคราะห์
1. ขั้นการวิเคราะห์
การ
วิเคราะห์เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน
ผู้ออกแบบจะต้องกำหนดความจำเป็นในการเรียน
ทำการวิเคราะห์เนื้อหาหรือกิจกรรมการเรียนการสอน คุณลักษณะของผู้เรียน
วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเพื่อรวบรวมข้อมูล
สำหรับใช้เป็นแนวทางในการกำหนดขอบเขตของบทเรียน
ขั้นการวิเคราะห์ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ดังนี้
1.1 วิเคราะห์ความจำเป็น (Need Analysis) คือ
การวิเคราะห์เพื่อกำหนดเลือกว่าควรจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับอะไร
โดยอาจหาข้อมูลจากความต้องการของผู้เรียน
หรืออาจหาข้อมูลจากการกำหนดความจำเป็น ปัญหาขัดข้อง
หรืออุปสรรคที่ทำให้การเรียนการสอนไม่บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้และ
พิจารณาว่ามีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องจัดการเรียนการสอน
หากจำเป็นหรือสมควรจัด และควรจัดอย่างไร
1.2 วิเคราะห์เนื้อหา หรือ กิจกรรมการเรียนการสอน (Content and Task Analysis) คือ
การวิเคราะห์เพื่อจัดการเรียนการสอนให้ครอบคลุม
หรือสอดคล้องกับความต้องการ ความจำเป็นในการเรียนการสอน
โดยพิจารณาอย่างละเอียดด้านเนื้อหา มีการแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อใหญ่
และหัวข้อย่อย ๆ เพื่อให้มีความชัดเจน
กำหนดเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3 วิเคราะห์ผู้เรียน (Analyze Leamer Characteristic) เป็น
การวิเคราะห์เพื่อสรุปเป็นข้อมูลสำหรับการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับ
ผู้เรียน โดยควรวิเคราะห์ทั้งลักษณะทั่วไป เช่น อายุ
ระดับความรู้ความสามารถ เพศ สังคม วัฒนธรรม เป็นต้น และควรวิเคราะห์
ลักษณะเฉพาะของผู้เรียนด้วย เช่น ความรู้พื้นฐาน ทักษะความชำนาญ
หรือความถนัด รูปแบบการเรียน ทัศนคติ เป็นต้น
1.4 วิเคราะห์วัตถุประสงค์ (Analyze Objective) วัตถุ
ประสงค์ของการเรียนการสอน คือ
จุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนและผู้สอนรู้ว่าเมื่อเรียนบทเรียนนั้น
ๆ แล้วจะเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง
ดังนั้นการกำหนดจุดวัตถุประสงค์จึงต้องมีการวิเคราะห์อย่างละเอียดและรอบคอบ
โดยอาจกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายหลักของการเรียนการสอนก่อน
แล้วจึงกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถประเมินผลได้ชัดเจนเป็น
รูปธรรมว่าผู้เรียนบรรลุการเรียนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่
โดยวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมแยกเป็น ๓ ด้าน คือ
1) วัตถุประสงค์ด้านพุทธิพิสัย คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ
2) วัตถุประสงค์ด้านจิตพิสัย คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับความรู้สึก ค่านิยม ทัศนคติ
3) วัตถุประสงค์ด้านทักษะพิสัย คือ พฤติกรรมเกี่ยวกับการกระทำหรือการปฏิบัติ 1.5 วิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Analyza Environment) วัตถุ
ประสงค์การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการสอน เพื่อเป็นการเตรียมการล่วงหน้าว่า
สถานที่ เวลา และบริบทในการเรียนการสอนที่จะดำเนินการนั้นจะอยู่ในสภาพใด
เช่น ขนาดห้องเรียน อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่จะใช้คืออะไร
2.การออกแบบ (design) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องระบุว่าจะเรียนอย่างไร
2.การออกแบบ (design) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องระบุว่าจะเรียนอย่างไร
3.การพัฒนา (developmant) เป็นกระบวนการของการจัดการและการผลิตวัสดุอุปกรณ์
4.การนำไปใช้ (imprmentation)เป็นกระบวนการของการกำหนดโครงการในบริบทของโลกห่งความจริง
5.การประเมินผล (evalution) เป็นกระบวนการของการตัดสินตกลงใจต่อความเพียงพอของการเรียนการสอน
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
บทบาท
ของผู้ออกแบบการเรียนการสอนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่นำเสนอ
ว่าต้องอาศัยเทคนิค หรือไม่ต้องอาศัยเทคนิค
และขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของทีมการออกแบบ เนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง
ผู้ออกแบบจำเป็นต้องให้คำแนะนำในการออกแบบกับผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา
ถ้าเนื้อหานั้นไม่ต้องใช้เทคนิคที่สูงมากจนเกินไปผู้ออกแบบก็สามารถทำได้
อย่างอิสระมากขึ้นด้วยความเชื่อเหลือของผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา
ผู้ออกแบบสามารถที่จะทำงานเป็นผู้ให้คำปรึกษาจาภายนอก
และรับผิดชอบภาระงานทั้งหมดเหมือนเป็นคนในสำนักงาน
ตารางการเปรียบเทียบการสอนแบบดั้งเดิมกับการเรียนการสอนเชิงระบบ
องค์ประกอบของการเรียนการสอน
|
การเรียนการสอน
แบบดั้งเดิม
|
การเรียนการสอน
เชิงระบบ
|
1.กำหนดเป้าประสงค์
|
*ตำราหลักสูตรดั้งเดิมการอ้างอิงภายใน
|
*การประเมินความต้องการจำเป็น
*การวิเคราะห์งาน
*การอ้างอิงภายนอก
|
2,จุดประสงค์
|
*กล่าวในรูปของผลที่ได้รับรวมๆ หรือการปฏิบัติของครู
*เหมือนกันสำหรับนักเรียนทุกคน
|
*จากการประเมินความต้องการจำเป็นการวิเคราะห์/การประเมินงาน
*เลือกด้วยการพิจารณาจากความสามารถของผู้เรียนเมื่อแรกเข้าเรียน
|
3.จุดประสงค์ในความรู้เฉพาะของผู้เรียน
|
*ไม่ได้รับการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องสัญญาณจากการรับฟังบรรยายและการอ่านตำรา
|
*บอกกล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษล่วงหน้าก่อนเรียน
|
4.ความสามารถก่อนเข้าเรียน
|
*ไม่ต้องใส่ใจ นักเรียนทุกคนมีวัตถุประสงค์และวัสดุอุปกรณ์ / กิจกรรมเหมือนกันหมด
|
*การพิจารณา
*กำหนดวัสดุอุปกรณ์ / กิจกรรมแตกต่างกัน
|
5.ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง
|
*ใช้โค้งมาตรฐาน
|
*มีความเป็นแบบอย่างเดียวกันสูง
|
6.ความรอบรู้
|
*นักเรียนส่วนน้อยรับรู้จุดประสงค์ทั้งหมด
*รูปแบบผิดพลาด
|
*นักเรียนส่วนใหญ่รับรู้จุดประสงค์ทั้งหมด
|
7.ค่าระดับและการเลื่อนระดับ
|
*อยู่บนพื้นฐานการเปรียบเทียบกับนักเรียนคนอื่นๆ
|
*อยู่บนพื้นฐานการรอบรู้จุดประสงค์
|
8.การสอนเสริม
|
*บ่อยครั้งที่ไม่มีการวางแผน
*ไม่มีการเปลี่ยนจุดประสงค์หรือวิธีการเรียนการสอน
|
*วางแผนสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือแสวงหาจุดประสงค์อื่นๆ เลือกวิธีการเรียนการสอน
|
9.การใช้แบบทดสอบ
|
*กำหนดค่าระดับ
|
*เฝ้าระวัง ติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียน
*ตัดสินความรอบรู้
*วินิจฉัยความยากลำบาก
*ปรับปรงการเรียนการสอน
|
10.เวลาศึกษากับความรอบรู้
|
*เวลาคงที่ : ระดับความรอบรู้หลากหลาย แตกต่างกัน
|
*ความรอบรู้คงที่ : เวลาหลากหลายแตกต่างกัน
|
11.การตีความของความล้มเหลวที่จะไปให้ถึงความรู้
|
*นักเรียนผู้สงสาร
|
*มีความต้องการจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงการเรียนการสอน
|
12.การพัฒนารายวิชา
|
*เลือกวัสดุอุปกรณ์ก่อน
|
*ระบุจุดประสงค์ก่อนแล้วจึงจะเลือกวัสดุอุปกรณ์
|
13.ดับขั้นตอน
|
*อยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลสังเขปหัวเรื่อง
|
*อยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่ต้องรู้ก่อนตามความจำเป็น และหลักการของการเรียนรู
|
14.การปรับปรุงการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์
|
*อยู่บนพื้นฐานของการคาดเดางาน หรือความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์ใหม่
*เกิดขึ้นเป็นพักๆ
|
*อยู่บนพื้นฐานของการประเมินข้อมูล
*เกิดขึ้นเป็นประจำ
|
15.กลยุทธ์การเรียนการสอน
|
*พอใจให้ผ่านได้อย่างกว้างๆ
*อยู่บนพื้นฐานของความชอบหรือความคล้ายคลึง
|
*เลือกที่จะให้ได้รับตามจดประสงค์
*ใช้ยุทธวิธีที่หลากหลาย
*อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีและการวิจัย
|
16.การประเมิน
|
*บ่อยครั้งที่ไม่เกิดขึ้น : การวางแผนเชิงระบบมีน้อย
*ประเมินแบบอิงกลุ่ม ข้อมูลได้จากปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ
|
*การวางแผนเป็นระบบ : เกิดขึ้นประจำ
*ประเมินความรอบรู้ตามจุดประสงค์
*ประเมินผลอิงเกณฑ์ข้อมูลที่ได้จากผลที่ได้รับ (ผลผลิต)
|
ตาราง งานและผลผลิตของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน
ขั้นตอนและภาระงาน
|
การเรียนการสอนแบบดั้งเดิม
|
การเรียนการสอนเชิงระบบ
|
การวิเคราะห์-กระบวนการของการนิยามว่าต้องทำเรียนอะไร
|
*ประเมินความต้องการจำเป็น
*ระบุปัญหา
*วิเคราะห์ภาระงาน
|
*แฟ้มผู้เรียน
*การพรรณนาข้อจำกัด
*คำกล่าวของความต้องการจำเป็นและปัญหา
*การวิเคราะห์ภาระงาน
|
การออกแบบ-กระบวนการของการชี้เฉพาะว่าจะเรียนอย่างไร
|
*เขียนจุดประสงค์
*พัฒนารายการของแบบทดสอบ
*วางแผนการเรียนการสอน
*ระบุแหล่งทรัพยากร
|
*จุดประสงค์ที่วัดได้กลยุทธ์การเรียนการสอน
*ลักษณะเฉพาะของตัวแบบ
|
การพัฒนา-กระบวนการของหน้าที่และผลิตวัสดุอุปกรณ์
|
*ทำงานกับผู้ผลิต
*พัฒนาคู่มือ แผนภูมิ โปรแกรม
|
*สตอรี่บอร์ด
*สคริป
*แบบฝึกหัด
*คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
|
การนำไปใช้-กระบวนการของการก่อตั้งโครงการในบริษัทแห่งโลกความจริง
|
*การฝึกอบรมครู
*การทดลอง
|
*การให้ความเห็นของนักเรียน
ข้อมูล
|
การประเมินผล-กระบวนการของการตกลงใจเกี่ยวกับความเห็นผลขอการเรียนการสอน
|
*บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเวลา
*ผลการแปลความแบบทดสอบ
*สำรวจผู้สำเร็จการศึกษา
*ทบทวนกิจกรรม
|
*คำรับรอง
*รายงานโครงงาน
*ทบทวนตัวแบบ
|
งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน
งาน
ของผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะหลากหลายในความต้องการด้านความ
รู้ความชำนาญ
ผลิตผลที่ได้และสถานการณ์ของงานผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะ
วิเคราะห์ภาระงานภายใต้การนิเทศของผู้จัดการโครงการในองค์ที่เกี่ยวข้องกับ
วิจัยและการพัฒนา
ผู้จัดการโครงการอาจจะนำทีมซึ่งพัฒนาการประชุมเชิงการปฏิบัติการ 3 วัน
สำหรับการอุตสาหกรรม
การออกแบบไม่จำเป็นต้องเป็นทีมเสมอไปในองค์กรเล็กๆอาจจะใช้วิธีออกแบบเพียง
คนเดียว ในการทำภาระการออกแบบการเรียนการสอน
ตารางเปรียบเทียบความสนใจและเป้าประสงค์ของผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติ
แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป
|
บทบาทของผู้วิจัย
|
บทบาทผู้ปฏิบัติ
|
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์
|
*ศึกษาวิธีการระบุปัญหา
*ศึกษาผลของคุณลักษณะของผู้เรียน
*ศึกษาเนื้อหา
|
*ประยุกต์ใช้วิธีการระบุปัญหา
*กำหนดคุณลักษณะของผู้เรียน
*ใช้การวิจัยในเนื้อหาตามสาขาวิชา
|
ขั้นที่ 2 การออกแบบ
|
*ศึกษาตัวแปรในการออกแบบข่าวสาร
*พัฒนากลวิธีการเรียนการสอน
|
*ให้ผู้ปฏิบัติออกแบบการเรียนการสอน
|
ขั้นที่3 การพัฒนา
|
*ศึกษากระบวนการของทีม
|
*ทำงานกับผู้ผลิตในการพัฒนาสคริป
|
ขั้นที่ 4 การนำไปใช้
|
*ศึกษาชาติวงศ์วรรณาของตัวแปรในสิ่งแวดล้อม
*การระบุตัวแปรของการนำไปใช้ให้ได้ผล
|
*ออกแบบและจัดการสิ่งแวดล้อมและตัวในการเรียนการสอน
|
ขั้นที่ 5 ประเมินผล
|
*ศึกษาข้อถกเถียงที่นำไปสู่การประเมินผล
|
*ประยุกต์ทฤษฎีการประเมินผล
|
บทบาทของผู้วิจัยการออกแบบการเรียนการสอน
คือ
การสร้างความรอบรู้อย่างเป็นระบบเกี่ยวกับขั้นตอนสำหรับการพัฒนาการเรียน
การสอน
บทบาทกำหดให้ระบุคำถามซึ่งจำเป็นต้องศึกษาวางแผนโครงการโดยอาศัยสารสนเทศใน
การจัดทำโครงการและรายงานผลของโครงการ
บทบาทของผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอน
ผู้
ออกแบบการเรียนการสอนมีบทบาทประยุกต์ความรู้ความหลากหลาบสาขาวิชาไปสู่ขั้น
ตอนในกระบวนการเชิงระบบ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
บทบาทนี้ต้องการให้ระบุว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องเรียนรู้
ต้องการวางแผนเพื่อที่จะให้การเรียนรู้เกิดขึ้น
ต้องการวัดผลการเรียนรุ้เพื่อตัดสินใจว่าผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์
และกลั่นกรองสอดแทรกจนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์
งานออกแบบ
พิสัย
ของงานเป็นไปตามสถานการณ์ในระดับที่แตกต่างกันของผู้ชำนาญการ
บางครั้งผู้ออกแบบการเรียนการสอนทำหน้าที่เหมือนเป็นผู้ชำนาญการในขั้นตอน
หนึ่งของกระบวนการ ในบางงานเรียกผู้ออกแบบว่า
เป็นผู้ปฏิบัติที่มีสมรรถภาพในการดำเนินโครงการตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
พิสัยของงานไม่เพียงแค่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่มีความเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ
แต่บางงานต้องการระดับความแตกต่างของผู้ชำนาญการ
เหตุผล
บางประการที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนให้ผลกระทบในระดับต่ำคือ
ครูยึดติดกับธรรมชาติดั้งเดิมของโรงเรียน ติดแน่นกับตารางกำหนดงานประจำวัน
การพิจารณาให้ทุนกับโรงเรียนมีน้อย
การที่จะให้การออกแบบการเรียนการสอนมีความโดดเด่นขึ้นในสถานการณ์ภายใน
โรงเรียนต้องมีการเปลี่ยน 3 ประการคือ
1. ลดจำนวนเวลาที่ใช้โดยครูและนักเรียนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิม
2. ส่งเสริมการเรียนการสอนรายบุคคลในหลักสูตรให้มากขึ้น
3. ใช้ระบบการสอนที่สิ้นเปลืองงบประมาณน้อย
ผลิตผลการออกแบบ
ไม่
ว่าจะเป็นงานที่ตั้งสมมติฐานไว้หรืองานในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความหลาก
หลายของผลิตผลก็ตาม จะมีขอบเขตที่แตกต่างและซับซ้อน
งานการออกแบบการเรียนการสอนก็เช่นกัน
ขอบเขตรวมถึงความแตกต่างของขนาดและเนื้อหาความซับซ้อนรวมถึงความแตกต่างของ
หลักสูตรหรือสื่อ ในระดับที่เล็กที่สุดของขอบเขตคือ
แผนการสอนและหน่วยหรือชุดโมดุล ระดับต่อไปรวมถึงรายวิชาและหน่วย
รายวิชาหลัดสูตรและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวอย่างของผลิตผลที่มีขอบเขตกว้างใหญ่
ระดับสูงสุดของระดับความซับซ้อนคือ
สื่อการเรียนรู้ซึ่งมีปฏิกิริยาสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยอาศัยสื่อทางโทร
คมนาคม และคอมพิวเตอร์เข้าช่วย ระดับต่ำสุดของความซับซ้อนคือ
กระดาษและดินสอ และสำหรับโสตทัศนวัสดุเป็นระดับกลางของความซับซ้อน
สมรรถภาพของการออกแบบการเรียนการสอน
การ
ออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการทางเชาว์ปัญญาที่ต้องการทักษะความคิดใน
ระดับสูงในการปฏิบัติกิจกรรมนี้จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับทักษะและความถนัด
ตลอดจนการฝึกอบรมและการศึกษา
ความถนัดของบุคคล
การ
ออกแบการเรียนการสอนต้องอาศัยความถนัดด้วย
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการคิดทางเชิง
รูปธรรมและนามธรรม
งานออกแบบที่ยิ่งใหญ่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความคิดที่มีความคงเส้นคงวา
มีเหตุมีผล
ในเวลาเดียวกันนักออกแบบก็ต้องมองดูสิ่งที่เป็นเรื่องทั่วๆไปและสิ่งที่เป็น
นามธรรมด้วย
ผู้
ออกแบบจำเป็นต้องเป็นผู้ที่เข้าใจในภาระงานและสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นให้
ได้ผลิตผล เพราะงานการออกแบบสำเร็จลงได้ด้วยการทำงานเป็นทีม
นักออกแบจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความคิดกว้างไกล เปิดใจ
และสามารถที่จะยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ได้
มีความอดทนสูงต่อข้อสงสัยของผู้อื่นที่มีต่องานของตน
กาเย่ ได้พรรณาคุณลักษณะบุคคลของนักออกแบการเรียนการสอนไว้ 3 ประเภทคือ เจตคติหรือค่านิยม ความรู้เฉพาะทาง และทักษะเชาว์ปัญญาหรือวิธีการ
ประกาศนียบัตร
เรา
จำเป็นต้องรู้ถึงสมรรถภาพของนักออกแบบการเรียนการสอนตามความต้องการ
เพื่อที่ได้เพิ่มพูนสมรรถภาพเหล่านั้น
สมาคมเพื่อการปฏิบัติและการเรียนการสอนแห่งชาติและแผนกการพัฒนาการเรียนการ
สอนของสมาคมเพื่อการสื่อสารและเทคโนโลยีแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา
ได้จัดตั้งคระกรรมการดำเนินงานเพื่อสืบสวนความเป็นไปได้และความสามารถตาม
ต้องการของการให้คำรับรองนักออกแบบการเรียนการสอน
สมรรถภาพในการพัฒนาการเรียนการสอนและการฝึกอบรม
ผู้เชี่ยวชาญที่มีสมรรถภาพในการพัฒนาการเรียนการสอนและการฝึกอบรมมีความสามารถดังต่อไปนี้
1.ตัดสินใจโครงการที่มีความเหมาะสมสำหรับการพัฒนาการเรียนการสอน
|
*วิเคราะห์สารสนเทศโดยพิจารณาศักยภาพของโครงการและตัดสินการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม
*แยกแยะความต้องการในการแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนตามเงื่อนไขจากความต้องการการแก้ปัญหาอื่นๆ
*พิจารณาความเหมาะสมของการตัดสินใจเลือกโครงการและจัดเตรียมเหตุผลของการตัดสินใจ
|
2.ดำเนินความประเมินความต้องการจำเป็น
|
*พัฒนาแผนการประเมินความต้องการจำเป็นรวมถึงการเลือกวิธีการและเครื่องมือ
*ดำเนินการประเมินความต้องการจำเป็นและตีความผล เพื่อแนะนำการกระทำที่เหมาะสม *พิจารณาความเหมาะสมความสมบูรณ์และความถูกต้องของแผนการประเมินความจ้องการจำเป็นและเหตุผล |
3.ประเมินคุณลักษณะของผู้เรียน ผู้เข้ารับฝึกอบรม
|
*แยกความต่างระหว่างการประเมินทักษะเริ่มเข้าเรียน
*การ ประเมินความรู้เดิมที่ต้องมมีก่อน และการประเมินความถนัด ระบุพิสัยของคุณลักษณะที่สัมพันธ์กันของผู้เรียน ผู้รับการฝึกอบรม และพิจารณาวิธีการสำหรับการประเมินผล *พัฒนาแผน สำหรับการประเมินคุณลักษณะของผู้เรียน ผู้รับการฝึกอบรม และนำไปใช้พิจารณาความเหมาะสม ความเข้าใจ และความเพียงพอของการประเมินคุณลักษณะของผู้เรียน ผู้รับการฝึกอบรม |
4.วิเคราะห์
โครงสร้างคุณลักษณะของงาน ภาระงาน
และเนื้อหาเลือกและใช้ระเบียบวิธีการเพื่อการวิเคราะห์โครงสร้างคุณลักษณะ
ที่เหมาะสมกับงานและภาระงานย่อยหรือเนื้อหาและบอกเหตุของการเลือกด้วย
| |
5.เขียนคำกล่าวของผลที่ได้รับของผู้เรียน
|
*กล่าว
ถึงจุดประสงค์ที่มีความแตกต่างกันในรูปของการปฏิบัติพฤติกรรมจากเป้าประสงค์
ของการเรียนการสอน เป้าประสงค์ของการจัดการกิจกรรมของผู้เรียน
และจุดประสงค์ที่เขียนขึ้นในสไตล์อื่นๆ
*กล่าว
ถึงผลที่ได้รับในรูปของการปฏิบัติซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจของการเรียนการสอน
พิจารณาความถูกต้องเข้าใจ
และความเหมาะสมของข้อความที่กล่าวถึงผลที่ได้รับของผู้เรียนในรูปของการ
วิเคราะห์งาน ภาระงาน และเนื้อหาวิชา
และ/หรือการพิจารณาการลงความเห็นของลูกความ
|
6.วิเคราะห์คุณสมบัติของสถานการณ์
|
*วิเคราะห์คุณสมบัติของสถานการณ์และตัดสินความสัมพันธ์ของทรัพยากรและข้อจำกัด
*พิจารณาความถูกต้อง ความเข้าใจ และความเหมาะสมชองการวิเคราะห์สถานการณ์ |
7.ลำดับขั้นตอนของผลที่ได้รับของผู้เรียน
|
*เลือก
วิธีการสำหรับลำดับชั้นของผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามสถานการณ์
กับขั้นตอนของผลที่ได้รับ และถ้อยคำกล่าวที่มีเหตุผลสำหรับลำดับชั้น
พิจารณาความถูกต้อง ความสมบูรณ์
และความเหมาะสมของขั้นตอนของผลที่ได้รับของผู้เรียน
|
8.ชี้เฉพาะกลยุทธ์การเรียนการสอน
|
*เลือก
กลยุทธ์ที่เหมาะสมต่อสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของผู้เรียน
ทรัพยากร และข้อจำกัด
ผลที่ได้รับของผู้เรียนตามความต้องการและสารสนเทศที่ตรงกับเรื่องอื่นๆ
และถ้อยคำที่เป็นเหตุเป็นผลสำหรับการเลือก
|
9.ลำดับชั้นของกิจกรรมของผู้เรียน
|
*ระบุขั้นตอนกิจกรรมที่เหมาะสมของผู้เรียน จะทำให้ประสบผลสำเร็จในผลที่ได้รับเฉพาะอย่าง และถ้อยคำที่เป็นเหตุผลสำหรับขั้นตอน
*พิจารณาความเหมาะสมและความสมบูรณ์ของลำดับชั้นกิจกรรมของผู้เรียน |
10.ตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพยากรการเรียนการสอน (สื่อ) ที่เหมาะสมต่อกิจกรรมการเรียนการสอน
|
*พิจารณาความเป็นพิเศษของทรัพยากรการเรียนการสอนตามความต้องการของกลยุทธ์การเรียนการสอนที่ขัดแย้งและผลที่ได้รับของผู้เรียน
*ประเมินทรัพยากรการเรียนการสอนที่มีอยู่ซึ่งตัดสินความเหมาะสมสำหรับกลยุทธ์การเรียนการสอนเฉพาะ และผลที่ได้รับของผู้เรียน *ปรับทรัพยากรการเรียนการสอนที่มีอยู่
*เตรียมระบุความพิเศษในการผลิตวัสดุอุปกรณ์ต่างๆตามความต้องการ
|
11.ประเมินการเรียนการสอน/การฝึกอบรม
|
*วางแผนและดำเนินการประเมินผลเพื่อปรับปรุง
*พัฒนาพิสัยของเทคนิคการเก็บรวบรวมสารสนเทศ |
12.สร้างสรรค์รายวิชา ชุดการฝึกอบรม และระบบการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
|
*ตัดสินใจเกี่ยวกับขององค์ประกอบของรายวิชา/ชุดการฝึกอบรม/ระบบการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ และถ้อยคำที่เป็นเหตุผลสำหรับการเลือก
*พิจารณาความเหมาะสม ความเข้าใจ และความเพียงพอของระบบการจัดการที่มีอยู่
|
13.วางแผนและเฝ้าระวังติดตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอน
|
*พัฒนาและติดตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอนที่เหมาะสมต่อธรรมชาติของโครงการและสถานการณ์
|
14.สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทางทัศนะ ทางการพูดและทางการเรียน
| |
15.สาธิตพฤติกรรมที่เหมาะสมระหว่างบุคคล กระบวนการกลุ่ม และพฤติกรรมการให้คำปรึกษา
|
*สาธิตพฤติกรรมระหว่างบุคคลกับปัจเจกบุคคลและกับกลุ่มและถ้อยคำที่มีเหตุผลสำหรับการใช้พฤติกรรมในสถานการณ์ที่กำหนดให้
*สาธิตพฤติกรรมการให้คำปรึกษากับปัจเจกบุคคลและกลุ่มและถ้อยคำที่มีเหตุผลสำหรับการใช้พฤติกรรมในสถานการณ์ที่กำหนดให้ *พิจารณาความเหมาะสมของพฤติกรรมระหว่างบุคคล กระบวนการกลุ่ม และการให้คำปรึกษาในสถานการณ์ที่กำหนด |
16.ส่งเสริมการแพร่กระจายและการรับเอากระบวนพัฒนาการเรียนการสอนมาใช้
|
*เลือก
กลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับส่งเสริมการแพร่กระจาย
และการรับเอากระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่กำหนดให้
และถ้อยคำที่มีเหตุผลสำหรับกลยุทธ์
|
สรุป
ความ
รู้เบื้องต้นในการออกแบบการเรียนการสอนประกอบด้วย
ความต้องการจำเป็นสำหรับการเรียนการสอน นิยามการออกแบบการเรียนการสอน
ประโยชน์ของการการออกแบบการเรียนการสอน
แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
งานและผลิตผลของกาออกแบบการเรียนการสอนและสมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการส
อน
ความ
ต้องการจำเป็นของการออกแบบการเรียนการสอนหรือการแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการ
สอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ
บรรลุจุดประสงค์ตามเจตนารมณ์ของผู้สอนและหลักสูตรการออกแบบการเรียนการสอน
หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาการเรียนการสอน โดยการวิเคราะห์สถานการณ์
หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดหมายโดยอาศัยความรู้จากหลายทฤษฎี เช่น
ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน ทฤษฎีการติดต่อสื่อสาร
ตลอดจนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น